วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"หมาน้อย" อาหารพื้นบ้านอีสาน บ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์

"หมาน้อย" เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสาน แถบภาคเหนือตอนบนเรียก "แอ่งแต๊ะ" วัตถุดิบที่ใช้ คือ ใบหมาน้อย หรือใบแอ่งแต๊ะ มีคุณสมบัติการเปลี่ยนรูปจากของเหลวเป็นวุ้นแต่ไม่ถึงกับแข็งเหมือนวุ้นทั่วไป แต่จะเป็นวุ้นแบบเด้งดึ๋งดั๋งไปมาเมื่อใช้ช้อนตักลงไปที่หมาน้อย





หมาน้อย เป็นพืชที่จัดอยู่ในประเภทสมุนไพร ชนิดยาเย็น ช่วยดับกระหายได้เป็นอย่างดี



ต้นหมาน้อย จะมีลักษณะเครือยาว อาศัยต้นไม้ใหญ่ในการเลื้อยเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี ดังภาพบน และล่าง คือ เครือหมาน้อยอาศัยพี่เลี้ยงอย่างต้นมะม่วงช่วยในการเจริญเติบโต





ภาพบน และล่าง : ใบหมาน้อย มีรูปทรงลักษณะคล้ายใบโพธิ์ และบางกว่ามาก ทั้งด้านหน้า และด้านหลังของใบหมาน้อย มีขนเล็กๆ ให้ความรู้สึกนุ่มนิดๆ เมื่อสัมผัสเบาๆ



กรรมวิธีการทำหมาน้อย (แอ่งแต๊ะ)

ส่วนประกอบ
ใบหมาน้อย = 30 ใบ
พริกแดงสด = ตามชอบ
กระเทียม = 3-5 กลีบ
ตะไคร้หั่นซอย = 3 ต้น
ผักชีฝรั่ง = 2 ต้น
ผักชีจีน = ตามชอบ
ห้วหอม = 10 หัว
ต้นหอม = 2 ต้น
ผักชี = 2 ต้น
ปลาร้าสับ = 2 ขีด หรือ ปลาเค็มทอดสุก = 2 ขีด หรือ กะปิ-เคย = 2 ขีด
น้ำ = 1/2 ลิตร



วิธีทำ

ขั้นตอนที่ 1
โขลกพริกสด หัวหอม กระเทียม ตะไคร้ซอย รวมกันให้ละเอียด (หรือจะนำปลาร้าสับใส่ลงไปคลุกเคล้าในขั้นตอนนี้ร่วมด้วยก็ได้) และตักใส่ภาชนะพักไว้ก่อน

ขั้นตอนที่ 2
นำใบหมาน้อยล้างให้สะอาด นำใส่ลงเครื่องปั่นเติมน้ำเปล่าที่เตรียมไว้ลงไป และปั่นให้ละเอียด แล้วนำมากรองเพื่อเอากากออก ก็จะได้ "น้ำหมาน้อย"

ขั้นตอนที่ 3
นำ "น้ำหมาน้อย" กับส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 มาผสมกัน (หากยังไม่ได้ผสมปลาร้าสับในขั้นตอนที่ 1 ให้นำปลาร้าสับใส่ผสมลงไปในขั้นตอนที่ 3 นี้) และเติมด้วยผักชีฝรั่ง ต้นหอม และผักชีซอยลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา หรือเกลืิอ จัดแจงส่วนผสมทั้งหมดลงภาชนะที่เตรียมไว้ พักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หมาน้อยจะแข็งตัวเป็นวุ้น จัดแจงใส่ภาชนะพร้อมเสิร์ฟ พร้อมผักชีจีน และพริกสด และอื่นๆ ตามชอบ



ใบหมาน้อย




หัวหอม





พริกสด





กระเทียม





ยี่หร่า อีสานเรียก "ผักหอมห่อ" หรือ "หอมเป"





ตะไคร้





ปลาร้าสับ อีสานเรียก "ปลาแดกผัก" (สับ อีสานเรียก "ผัก")





ผักชีจีน





ต้นหอม ชนิดนี้ แถบอีสานบ้านสนม เรียก "หอมแบ่ง"





น้ำปลา





สภาพเครื่องปรุง พริกสด + หัวหอม + กระเทียม + ตะไคร้ เมื่อโขลกรวมกันเรียบร้อยแล้ว





น้ำหมาน้อย ที่ผ่านการกรองเอากากออกแล้ว





หมาน้อย หน้าตาน่ารับประทาน

การแจกจ่ายข้าวสารบรรจุถุงเฉลิมพระเกียรติ บ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์

ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ จัดข้าวสารบรรจุถุงๆ ละ 1 กิโลกรัม จำนวน 60 ล้านถุง เพื่อร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแจกจ่ายให้กับประชาชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลบรมราชาภิเษก ปีที่ 60 และเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา โดยจัดสรรให้จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,295,100 ถุง ซึ่งจะทยอยจัดส่งให้จังหวัดสุรินทร์ นั้น

บัดนี้จังหวัดสุรินทร์ ได้รับข้าวสารเฉลิมพระเกียรติจากส่วนกลางมาแล้ว และได้จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วนประชากร เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ซึ่งเทศบาลตำบลสนมได้รับจำนวนทั้งหมด 4,750 ถุง ได้รับก่อนแล้วจำนวน 150 ถุง คงเหลือ 4,600 ถุง



ดังนั้นเทศบาลตำบลสนม จึงขอมอบข้าวสารบรรจุถุงเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1,003 ถุง เพื่อให้ท่านนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชน โดยให้ความสำคัญกับประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ยากจน และผู้ด้อยโอกาสเป็นอันดับแรก



ประชาชนบ้านสนม หมู่ที่ 2 ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์ รับมอบข้าวสารบรรจุถุงเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 15.00 น.









ภาพบน : นายนิคม งามวิไล
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
ถ่ายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553



ภาพบน : นายประกาศิต วงศ์ฉลาด
รองประธานสภาเทศบาลตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
ถ่ายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553
























ดู ที่ทำการผู้ใหญบ้าน หมู่ที่ 2 ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ร่วมสร้างชุมชน และท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดย... สสส.

โครงการ การจัดการระบบนิเวศน์สู่ความมั่นคงด้านอาหารบ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์ ร่วมกับบ้านศาลา ต.ยางสว่าง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ภายใต้โครงการ "ร่วมสร้างชุมชน และท้องถิ่นให้น่าอยู่" สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ในวันดังกล่าวได้ศึกษาหาประสบการณ์ เรียงลำดับงานดังนี้
1. อุทยานบุญนิยม จังหวัดอุบลราชธานี
2. พุทธฐานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
3. ด่านพรมแดนช่องเม็ก (ไทย-ลาว) จังหวัดอุบลราชธานี


พุทธฐานราชธานีอโศก
ศึกษาดูงานเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ ณ ชุมชนพุทธฐานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี







ภาพบน : วิทยากร กำลังให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชภายใต้ระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม



ภาพบน และล่าง : ผู้ศึกษาดูงาน จดบันทึกข้อมูลอย่างตั้งใจ



ภาพบน : ผู้ศึกษาดูงาน ให้ความสนใจเกี่ยวกับการปลูกผักหวานป่าเป็นพิเศษ
ภาพล่าง : ต้นผักหวานป่า ที่เพาะชำไว้ร่วมกับต้นมะขามเทศ โดยให้ต้นมะขามเทศเป็นพี่เลี้ยงให้กับผักหวานป่า



























ภาพบน : พันธุ์นี้ไง ที่นำเข้าครั้งแรกในประเทศไทย มีมูลค่าถึงต้นละ 6 หมื่นบาท ด้วยสรรพคุณตัวยาสารพัดโรค























































































































































ภาพบน และล่าง : กลุ่มผู้ศึกษาดูงาน ฮือฮา "ผักปังยักษ์"



ภาพล่าง : ผักปังยักษ์













ภาพบน : ชุมชนพุทธฐานราชธานีอโศก ทั้งชุมชนนับถือศาสนาพุทธ และดำเนินชีวิตตามวิถีพุทธอย่างจริงจัง เรียบง่าย สมถะ ตามสไตล์หลักปรัชญาแห่งชีวิต



















พื้นที่ส่วนใหญ่ในพุทธฐานราชธานีอโศก เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม และเรียนรู้พัฒนาทางด้านวิชาการเกษตรควบคู่กันไปอย่างครบวงจรภายในราชธานี ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย และท้ายสุดที่ผู้บริโภค













ภาพบน : ต้นไม้ปลอม ตะหง่านอลังการสูงใหญ่





หันไปทางทิศใด ก็พบแต่พืชผัก













ภาพบน : ชมการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ภาพล่าง : สูตรปุ๋ยหมัก, การทำจุลินทรีย์, การทำสารสกัดจากพืชสีเขียว, การทำสารสกัดชีวภาพ และราคาแร่วันนี้

























ภาพบน และล่าง : มะเขือพันธุ์ยักษ์




ดู พุทธฐานราชธานีอโศก ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า




อุทยานบุญนิยม
วัตถุดิบ อาทิ พืชผลทางการเกษตร และอื่นๆ ที่ได้จากชุมชนพุทธฐานราชธานีอโศก จะถูกลำเลียงส่งมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปขั้นต่อไปที่ อุทยานบุญนิยม อำเภอเมืองอุบลราชธานี







อีกหนึ่งตัวอย่างการแปรรูปเครื่องดื่มที่ได้จากต้นข้าวสาลี



ภาพบน และล่าง : ต้นข้าวสาลี อายุ 10 วัน





ภาพบน : สมาชิกชุมชนพุทธฐานราชธานีอโศก บรรจงตัดต้นข้าวสาลี อายุ 10 วัน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่ม



ภาพล่าง : เมื่อตัดต้นข้าวสาลีเสร็จแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ให้ต้นข้าวสาลีงอกขึ้นมาใหม่ อีกประมาณ 10 วัน ก็นำมาตัดอีก







ภาพบน : ต้นข้าวสาลี ที่ตัดไว้แล้ว
ภาพล่าง : นำต้นข้าวสาลี เข้าสู่กระบวนการคัดแยกกากและน้ำออกจากกัน







ภาพบน : เครื่องคัดแยกกากและน้ำจากต้นข้าวสาลีด้วยพลังงานไฟฟ้า
ภาพล่าง : เครื่องตัดแยกกากและน้ำจากต้นข้าวสาลีด้วยพลังงานกล (ใช้มือปั่น)





ภาพบน และล่าง : น้ำที่ได้จากการคั้นสดต้นข้าวสาลี





ภาพบน และล่าง : น้ำจากต้นข้าวสาลีคั้นสด ปริมาณ 25 ซีซี จำหน่ายในราคา 20 บาท รสชาติกลมกล่อม มีรสหวานนิดๆ มีกลิ่นเขียวธรรมชาติเล็กน้อย สรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน





ประโยชน์ของข้าวสาลี
1. สารคลอโรฟิลล์ 70% สามารถทดแทนสารอาหารในผัก 1 ขีด เท่ากับ ผัก 2 กก.
2. สารอาหารมีถึง 90 ชนิด ใน 100 ชนิดที่ร่างกายต้องการ
3. มีเอนไซม์ 30 ชนิด ที่สำคัญ คือ เอนไซม์ SO วิตามิน A , B , C , Complex , E , K , กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย กว่า 17 ชนิด แร่ธาตุต่างๆ เช่น เซลเนียม แมกนีเซียม แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และอื่นๆ การดื่มน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลี 1.2 ออนซ์ = สารอาหารจากใบผัก
4. ซีลิเนียม ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีบทบาทในการป้องกันมะเร็ง
5. แมกนีเซียม มีความสำคัญมากในขบวนการระดับเซล และสมดุลของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถใช้สารอาหารที่กินเข้าไปเป็นพลังงานได้ และทำงานกับแคลเซียมในกล้ามเนื้อ , ระบบประสาท





ภาพบน : น้ำมะพร้าวสด ใช้ดื่มร่วมกับน้ำต้นข้าวสาลีคั้นสด เพื่อความกลมกล่อมยิ่งขึ้น
ภาพล่าง : ผู้คนให้ความสนใจ และซื้อหาน้ำต้นข้าวสาลีคั้นสด อย่างไม่ขาดสาย ณ ที่ตั้งอุทยานบุญนิยม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี





ที่ตั้ง อุทยานบุญนิยม : ตรงกันข้ามกับ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการบ้านทองพูนเผ่าพนัส อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ภาพล่าง : ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการบ้านทองพูนเผ่าพนัส อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี





ภาพบน และล่าง : โรงทาน อุทยานบุญนิยม























ภาพบน และล่าง : โรงผลิตขนมปัง ณ อุทยานบุญนิยม และเป็นศูนย์ฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ ชุมชนพุทธฐานราชธานีอโศก



























ภาพบน และล่าง : "คุณอ๊อด" คนสนมโดยกำเนิด เป็นอีกหนึ่งบุคคลในชุมชนพุทธฐานราชธานีอโศก




ดู อุทยานบุญนิยม ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า





ด่านพรมแดนช่องเม็ก
ด่านพรมแดนช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นจุดข้ามแดนระหว่างสองประเทศ คือ ประเทศไทย และประเทศลาว เปิดเวลา 06.00 น. และปิดเวลา 20.00 น.









ภาพบน : คณะศึกษาดูงาน กำลังรวบรวมบัตรประชาชน เพื่อไปทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว โดยผ่านเอเย่นต์ฯ อัตราค่าบริการคนละ 30 บาท สะดวกรวดเร็ว (เอเย่นต์ จะเข้ามาถามความสมัครใจเอง)
ภาพล่าง : ต้องการทำบัตรผ่านแดนชั่วคราวด้วยตัวเอง ที่อาคารหลังคาทรงแฉกดังภาพ ด้วยอัตราบริการ 30 บาท เท่ากันกับการใช้บริการเอเย่นต์ฯ





ภาพบน และล่าง : โชว์หลักฐานใบผ่านด่านพรมแดนช่องเม็กชั่วคราว ใช้ได้ภายในระยะเวลา 7 วัน แต่สำหรับผู้ที่มีพาสปอร์ตอยู่แล้ว ไม่ต้องทำใบผ่านแดนในส่วนนี้





ภาพบน : ตู้ ATM ให้บริการที่อาคารหลังคาทรงแฉก ด่านพรมแดนช่องเม็ก มีตู้ ATM ของธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน แต่ในวันดังกล่าว ตู้ ATM ของธนาคารออมสิน ณ จุดนี้ ใช้การไม่ได้ (อ้างอิง : 15 ต.ค. 2553)
ภาพล่าง : ตู้ ATM ธนาคารออมสิน ภายในอาคารหลังคาทรงแฉก ตม.ช่องเม็ก (ฝั่งประเทศไทย)





ภาพบน และล่าง : จุดเตรียมตัวผ่านแดนเข้าไปยังประเทศลาว





ภาพบน : ซุปเปอร์สโตร์นำสมัย ขนาดไม่ใหญ่มาก ฝั่งประเทศลาว





ภาพบน : ป้ายโฆษณาโทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า ที่ประเทศลาว มี 3G ใช้แล้ว และสอบถามได้ความว่าที่ลาวมีระบบสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G ใช้นานแล้ว (อ้างอิง : 15 ต.ค. 2553)





ถ่ายภาพร่วมกับแม่ค้าชาวลาว



ภาพบน และล่าง : เลือกชื้อหา และชมสินค้าที่จำหน่าย ณ ตลาดผ่านแดนช่องเม็กฝั่งประเทศลาว



ร้านค้าที่ช่องเม็ก ฝั่งประเทศลาว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ลาว และไทย และมีคนงานขายของหน้าร้านเป็นชาวลาว สำหรับผู้ประกอบการจากจีนนั้นมาจากเมืองหางโจว และได้รับการชักชวนจากผู้คนในละแวกเดียวกันให้มาค้าขายที่ตลาดช่องเม็กนี้





ภาพบน : มาอ่านภาษาลาวกัน... ป้ายบนอ่านไม่ยาก... แล้วป้ายล่างหล่ะ อ่านว่า...



ภาพบน : แคน เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมชนิดหนึ่งของชาวลาว ซื้อหาติดไม้ติดมือเป็นของที่ระลึก เก๋..ไม่น้อย มีให้เลือกราคา 40-60 บาท



ภาพบน : ผ้าไหมโทเร มีหลายราคาหลายแบบให้เลือก เริ่มตั้งแต่ราคา 120 - 180 บาท สำหรับผ้าไหมโทเร 1 โต่ง ยาว 2 เมตร กว้าง 1 เมตร (อ้างอิง : 15 ต.ค. 2553)



ภาพบน : ลิ้มรสส้มตำ ฝีมือแม่ค้าชาวลาว
ภาพล่าง : ศึกษาดูบัตรประจำตัวประชาชนลาว (ฝึกอ่านภาษาลาว)



การศึกษาของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของประเทศลาวนั้น มีถึงชั้น ม.7 ภาษาต่างประเทศที่ใช้เรียนคือ ภาษาฝรั่งเศส (ประเทศไทยนั้นเรียน ภาษาอังกฤษ) และลาวได้ปรับเปลี่ยนมาเรียนภาษาอังกฤษแทนภาษาฝรั่งเศสเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิง : 15 ต.ค. 2553) และจากการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษกับนักเรียนลาว ชั้น ม.7 ด้วยการพูดคุยสนทนาเรื่องทั่วไป พอที่จะเทียบเคียงจากความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เีขียนเอง (ข้าพเจ้า) ถึงระดับภาษาอังกฤษของนักเรียนลาวที่เปิดการเรียนมาเพียง 2 ปี ของนักเรียนชั้น ม.7 สนทนาได้ใกล้เคียงกับระดับชั้น ม.5 ของบ้านสนมเราเลยทีเดียว (เก่งมาก..ขอปรบมือให้)



ภาพบน : ธนบัตรลาว (เงินลาว) ด้านหน้า
ภาพล่าง : ธนบัตรลาว (เงินลาว) ด้านหลัง

อัตราแลกเปลี่ยนเงินไทย-ลาว : 1 บาท = 250 กีบ (+-2 กีบ, อ้างอิง : 18 ต.ค. 2553)





ภาพบน และล่าง : รถโดยสารระหว่างประเทศ ปรับอากาศ ป.2 ของประเทศลาว เส้นทาง อุบลราชธานี (ช่องเม็ก) - ปากเซ (ประเทศลาว) รถจอดที่หน้าสำนักงาน ตม.ฝั่งประเทศลาว (ช่องเม็ก) เปิดให้บริการตลอดทั้งวัน รถขบวนสุดท้ายไปเมืองปากเซ รอบเวลา 06.00 น. โดยประมาณ



ถนนจากด่านช่องเม็กนี้ต่อไปยังเมืองปากเซ ของประเทศลาว ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากเมืองเวียงจันทร์ เมืองหลวงของประเทศลาว ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร



ภาพบน : จุดผ่านแดนสำหรับรถยนต์ฝั่งขาเข้าประเทศไทย อัตราบริการคันละ 100 บาท
ภาพล่าง : รถยนต์ที่วิ่งในประเทศลาว จะวิ่งเลนส์ขวา และพวงมาลัยคนขับรถยนต์จะอยู่ฝั่งซ้ายของรถ (คิดเล่นๆ แล้ว ยังงงเลย ขับจริงเวลาเลี้ยวจะไม่งงหรือ?...พี่ไทย)





ภาพบน : จุดผ่านด่านช่องเม็กฝั่งประเทศไทยเข้มงวดเป็นพิเศษ ตรวจกระเป๋าทุกใบ จากลาวเข้าไทย
ภาพล่าง : สรุปผลงาน จากประสบการณ์การศึุกษาดูงานในครั้งนี้ร่วมกัน








ดู ด่านพรมแดนช่องเม็ก ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า





ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ด่านพรมแดนช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี