วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานบุญบั้งไฟ ณ ลานสาธารณะหนองสิม อ.สนม จ.สุรินทร์ วัน อาทิตย์ ที่ 9 พ.ค. 2553

กิจกรรมภายในงาน มีการจุดบั้งไฟประกวดกันหลายชุมชน และหมอลำซิ่ง (ลำซิ่ง) เริ่มตั้้งแต่เวลา 10.00 น. - 17.oo น. เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 9 พ.ค. 2553

ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือประเพณียิงจรวดไทยขอฝนนี้ ความจริงไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของชาวเมืองสนม แต่เป็นฮีด (จารีต) จัดได้ว่าเป็นพิธีที่สำคัญอีกฮีดหนึ่ง ของชาวอีสานทั่วทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะชาวบ้านชุมชนต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองสนมให้ความสำคัญ และร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานอย่างแข็งขัน พร้อมทั้งความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเอกชนอีกหลาย ๆ ภาคส่วนร่วมกัน

รูป แบบประเพณี
วันเสาร์ ที่ 8 พ.ค. 2553 : ในวันนี้มีขบวนแห่บั้งไฟ จากหลายชุมชนในเขตอำเภอเมืองสนม แต่ละขบวนมีการจัดตกแต่งริ้วขบวนแห่ อย่างสวยสดงดงาม และมีการละเล่นกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสนุกสนาน และเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น คือ แต่ละขบวนแห่บั้งไฟของชุมชนนั้น มีการฟ้อนรำพื้นบ้าน เป็นหมู่คณะได้อย่างสวยงามยิ่งนัก เริ่มต้นแห่ขบวนบั้งไฟ ณ ที่ว่าการอำเภอสนม เพื่อไปยังปลายทางที่ลานกิจกรรมสาธารณะหนองสิม บ้านสนม อ.สนม จ.สุรินทร์ ...ย้อนกลับไปดู ขบวนแห่บั้งไฟ คลิกที่นี่

วันอาทิตย์ ที่ 9 พ.ค. 2553 : ในวันนี้มีการแข่งขันการจุดบั้งไฟ และการแสดงหมอลำซิ่ง (ลำซิ่ง) คณะ (วง) "คงคา ม้าแสนหก" สำหรับการตัดสินการแข่งขันจุดบั้งไฟนั้น ตัดสินจากการจับเวลาของบั้งไฟ ขณะลอยอยู่บนท้องฟ้า ตั้งแต่เริ่มจุดบั้งไฟ ไปจนถึงเวลาบั้งไฟตกถึงพื้นดิน

จุด เด่นงานประเพณีบุญบั้งไฟ อ.สนม จ.สุรินทร์
ขบวนนางรำของแต่ละ ชุมชนนั้น มีความสวยงามมาก ตื่นตาตื่นใจกับการแข่งขันการจุดบั้งไฟ และสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับหมอลำซิ่ง (ลำซิ่ง)

ตำนาน และเรื่องเล่า
ตำนานของ ประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่อง คือ เรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้น "พญาแถน" เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตก เกิดความไม่พอใจชาวโลก จึงบันดาลให้ฝนไม่ตกตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุด "พญาคันคาก" ตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกเพื่อต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้ "พญาปลวก" ก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้ "พญามอดไม้" ไปทำลายด้ามอาวุธของทหาร และอาวุธพญาแถน และให้ "พญาผึ้ง ต่อ แตน" ไปต่อยทหาร และพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นว่า หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าว ก็เป็นสัญญานแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็จะบันดาลให้ฝนหยุดตก





















































































ไม่มีความคิดเห็น: