วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตำนานเรื่องเมืองสนม

ตำนานเรื่องเมืองสนม
( โดย ครูอุทัย - ครูเพ็ญศรี ชัยงาม )

ขอก้มกราบ ครูกลอน สุนทรภู่อีกคุณครู ก่อนเก่า เคยเล่าสอนส่งให้มี ความรู้ สู่บทกลอนถึงจะอ่อน หัดไป แต่ใจมีกราบบนตัก ครูเก่า คือแม่พ่อเฝ้าพะนอ เลี้ยงดูมา มีหน้าที่กราบงามงาม อีกครั้ง ด้วยชีวีชั่วชีพนี้ เทิดทูน พระคุณครู


จำตำนาน แดนอีสาน บ้านดงป่าถูกทิ้งมา หลายร้อยปี ที่สัตว์อยู่อำนาจขอม เสื่อมไป ไร้คนดูหามีหมู่ ชนเผ่า เข้าครอบครองปีสองสอง หกศูนย์ ครั้งกรุงศรีชนชาวกวย มากมี มุ่งข้ามของ (โขง)จากอัตปือ บ้านเก่า เข้าเมืองทองที่หมายปอง แดนดิน ถิ่นไทรงามเดินทางผ่าน อุบล เมืองดอกบัวพร้อมบริวาร และครอบครัว น่าเกรงขามทั้งนักบวช เณรชี ก็มีตามแวะสอบถาม ทางไป ให้ระวัง


จะกล่าวถึง เจ็ดสหาย ชายชาวกวยผู้มากด้วย วิชา อาคมขลังเป็นนายพราน จับสัตว์ป่า มาประทังช้างป่ายัง จับได้ เลี้ยงใช้งานเข้าแดนดิน ถิ่นอีสาน ด้านทิศใต้ต่างแยกย้าย กันไป หลายสถานตากะจะ กะเชียงขัน นั้นชำนาญจัดตั้งบ้าน โคกลำดวน นวลลออบ้านกุดปะไท นั้นได้ เชียงไชยสร้างเป็นที่ทาง หลักฐานมี ที่ศีขร์ชื่อจารพัต น้ำดินดี มีเพียงพอคนเก่งก็ ปวีณาไก่ ลืมไม่ลงอันเมืองที เป็นที่ พ่อเชียงปุมเมืองลิงลุ่ม เป็นกลุ่ม พ่อเชียงสงบ้านกุดหวาย ของเชียงสี ผู้ซื่อตรงอัจจะคง ครอบครอง ของเชียงฆะเจ็ดสหาย ทุ่มใจกาย สร้างหลักฐานปวงประชา หน้าบาน ร่วมเสียสละต่างพัฒนา ปรับปรุง ไม่ลดละหวังว่าจะ เลื่องลือ ระบือไกล


ลุสองสาม ศูนย์สอง ต้องมีเหตุเกิดอาเพศ ช้างวัง คลุ้มคลั่งใส่หนีจากโรง จากพารา มาแสนไกลเหล่าคนไทย กรุงศรี ต้องหนีกันพญาช้าง แตกมา ป่าอีกสานถิ่นกันดาร พระยาไฟ ไข้จับสั่นทั้งแห้งแล้ง อบอ้าว สุดจาบัลย์ที่รู้กัน อันตราย มากมายมี


องค์เหนือหัว มีบัญชา ว่าสองหน่ออย่ามัวรอ ตามไป ให้ถึงที่นำกำลัง พร้อมควาญ ที่มากมีหากโชคดี อาจไป ไม่ไกลเกินเตรียมสิ่งของ ต้องใช้ ให้พร้อมพรักอันตรายนัก แตกมัน นั้นฉุกเฉินเหล่าอำมาตย์ รีบเร่ง อย่ามัวเพลินอย่าให้เกิน เวลา ข้าใช้งานทั้งสองหน่อ น้อมรับ พระบัญชาคือองค์ด้วง องค์บุญมา ผู้กล้าหาญท่านกรำศึก ออกรบ มาช้านานทั้งจัดจ้าน ในฝีมือ ระบือไกล


จะขอกล่าว เรื่องราว พ่อเชียงสีแบ่งกำลัง ที่มี ออกถางไร่ดงแสนตอ ใกล้สตึก อันแสนไกลปลูกข้าวไร่ ฝ้ายแตง ไว้แบ่งทานแว่วยินเสียง คึกคัก ให้นึกหวั่นนั่นใครกัน ดูซี มีเหล่าทหารมาเร็วซี หลบตรงนี้ ไม่ได้การเราเป็นพราน อย่าให้เห็น นั่นเป็นดีเอ๊ะนั่นใคร ให้ถาม ข้อความหน่อยข้าตามรอย ช้างมา กว่าถึงนี่เป็นช้างวัง เมืองกรุง ราชธานีวานช่วยที พาตาม สอบถามดูอัตปือเก่า พอเข้าใจ ในภาษาจึงบอกว่า ข้าจะพา ไปหาหมู่เป็นหมอช้าง ก่อนเก่า เข้าขั้นครูคงพอรู้ เรื่องราว ของเจ้าพลายรอนแรมไป กับนาย หลายวันผ่านเจอเกลอเก่า จากนาน บ้านสหายได้ทราบข่าว ไหมหนอ พ่อเพื่อนชายรีบพานาย ไปดู ท่านอยู่วังเหล่าสหาย ทราบข่าว ต่างป่าวร้องประกาศก้อง จับพลาย เจ้านายสั่งหากจับได้ นำเฝ้า องค์ในวังอาจมีหวัง ได้ปรากฏ ยศเกรียงไกร


ณ หนองโชค บัวบาน บ้านเชียงฆะช้างพลายผละ จากโขลง สูงโย่งใหญ่ร่างกำยำ มองดู อยู่ไกลไกลมีกำไล สีทอง ทั้งสองงาใช่แน่แล้ว แหละสหาย ช้างพลายหลวงไม่ต้องห่วง ข้าจะจับ กับคาถานั่งบริกรรม เวทมนต์ บ่นตำราศาลเพียงตา ต้องมี นี่สำคัญ


โอ้เจ้าพลาย ของไทย องค์ในหลวงไยไม่ห่วง แดนดิน ถิ่นสุขสันต์จากเมืองกรุง มุ่งมา ตั้งหลายวันจนผิวพรรณ มองแมม แถมโคลนตมมาเถิดพ่อ อย่ารอ มืดค่ำแล้วกลับเมืองแก้ว เวียงวัง ยังสุขสมเป็นช้างหลวง คนไทย ได้ชื่นชมในหลวงตรม เหตุพ่อ ก่อเรื่องมา


ได้ฟังพราน ร่ายมนต์ ดลใจอ่อนขอลาก่อน พงไพร อาลัยหาไปรับใช้ ไอศวรรย์ ที่พาราจะกลับมา อีกที หากมีบุญได้นำช้าง เข้าถวาย องค์ในหลวงกวยทั้งปวง ได้ดี มีที่หนุนเป็นขุนหลวง ขึ้นได้ ด้วยการุณย์เกิดจากบุญ หนุนนำ เป็นกำไรได้กินเมือง เคยอยู่ อู่เคยสร้างยกขึ้นทาง พิมาย เจ้านายใหญ่สร้างแดนดิน ถิ่นเขมร ให้เกรียงไกรส่งส่วยไป ทุกปี ด้วยดีมาท่านเชียงปุม จากเมืองที ที่หลวงสุรินทร์ (ภักดี)อันเป็นถิ่น ช้างไทย ในภายหน้าบ้านลำดวน ตากะจะ ก็ตามมามีฉายา หลวงแก้วสุวรรณ ท่านคนดีตาเชียงขัน บ้านลำดวน ก็หลวงปราบคอยกำราบ คนชั่ว มั่วอิตถีตาเชียงฆะ เป็นหลวงเพชร ก็เหมาะดีเหตุเพราะมี ดวงใจ ใฝ่มั่นคงตาเชียงไชย นั้นขึ้น เป็นขุนไชย (สุริยงค์)ตำแหน่งใหม่ เมืองเก่า เจ้าประสงค์เหล่าขุนหลวง ต่างปลื้มใจ ลืมไม่ลงเนื่องด้วยองค์ เหนือเกล้า เจ้าบัญชา หมอช้างสี เป็นที่ หลวงศรีนคร (เตา)ครองกุดหวาย เก่าก่อน มียศถาดำเนินกิจ ครองเมือง เรื่อยเรื่อยมามีบัญชา


เป็นที่ พระศรีนคร (เตา)บ้านกุดหวาย บุ่งหวาย มากมายชื่อที่เลื่องลือ เต่ามี มากมายสลอนคลานต้วมเตี้ยม ทั่วไป คล้ายพังพอนสมนคร เมืองเต่า เขาเล่ามา


ถึงบั้นท้าย ในราชการ ท่านมีเรื่องให้ขุ่นเคือง เบื้องบาท ขาดปรึกษาอันด้วยเหตุ ว่าความลับ ของพาราเปิดออกมา ในสาร การบ้านเมืองผิดหลายครา หามี ความพิโรธยอมยกโทษ ความเบา ไม่เอาเรื่องผิดหนนี้ สาหัส ให้ขัดเคืองปล่อยไว้เมือง วุ่นวาย ไร้ขื่อคา


ก่อนจะตาย ใครอิจฉา ข้าขอสาปเป็นตราบาป ต่อไป ให้เป็นบ้าแตกสามัคคี ทั่วไป อย่างวาจาคนที่มา กินเมือง มีเรื่องนานสิ้นพระศรี มีเจ้า เข้าครองใหม่ศรีนครชัย บุญจันทร์ ท่านกล่าวขานอยู่คุ้มใต้ ครองเมือง มาแสนนานจนได้ผ่าน ถึงสมัย นครชัยพวน


ลุสองสี่ สองห้า โกลาหลเหล่าฝูงชน วุ่นวาย ให้ปั่นป่วนเจ้าเมืองใหม่ เข้าครอง ไม่สมควรลูกหลานล้วน คนเดิม ไม่เสริมงานเกิดวิวาท บาดหมาง กันอย่างหนักที่ประจักษ์ หามี ที่ประสานแย่งอำนาจ ช่วงชิง กันอยู่นานจนลูกหลาน เจ้าเก่า เข้าประคอง


จะกล่าวถึง กรมการเมือง ศรีนครชัย (หยอง)เมื่อตักษัย มีบุตรสี่ ธิดาสองต่างเอ็นดู รักใคร่ และปรองดองหาผิดพ้อง หมองใจ เป็นไม่มีต่างเติบโต เจริญวัย เต็มหนุ่มสาวมีครอบครัว รุ่นราว ทั้งน้องพี่มีอาชีพ หลักฐาน มั่นคงดีตลอดชีวี ไร้ทุกข์ สุขสมปองจากท้าวดำ นำหน้า ถึงท้าวเฟื้อยต่อมาเรื่อย ท้าวอุดทา ท้าวหล่าน้องธิดาใหญ่ ชื่อว่าแก้ว สาดารองหกพี่น้อง คนดี มีศีลธรรม


อันคับที่ ยังดี ที่อยู่ได้แต่คับใจ แสนลำบาก หากถลำกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เป็นประจำดุจดังนำ เอาตัว ไปกลั้วไฟเคยได้ยิน เหล่าพราน ชำนาญป่าบอกเล่าว่า ที่มา ของป่าใหญ่มีหนองน้ำ สามหนอง อยู่ไม่ไกลฝูงสัตว์ป่า น้อยใหญ่ มีชุกชุมใกล้ดงใหญ่ มีลำห้วย ด้วยสองสายมีสัตว์น้ำ มากมาย เป็นกลุ่มกลุ่มทั้งจระเข้ อีกเต่า มีชุกชุมเมื่อยามหนุ่ม เคยได้ เข้าไปยล


ท้าวอุดทา อีกนาม หลวงจินดา (นุรักษ์)เบื่อระอา บ้านเมือง เรื่องสับสนพร้อมกำลัง เลกบิดา ห้าร้อยคนออกดั้นด้น ลงใต้ ไปสร้างเมืองจำจากไกล เรือนชาน บ้านเคยอยู่จากหลวงปู่ พระเถร เณรผ้าเหลืองหวังไปสร้าง เมืองใหม่ ให้รุ่งเรืองกราบบ้านเมือง ด้วยใจ ให้มีพลังเหล่าขบวนหาบ นำหน้า ออกมาก่อนส่วนคนแก่ เด็กอ่อน ค่อยตามหลังกำลังหลัก ทั้งหลาย คอยระวังหากไม่สั่ง อย่าหยุด จุดใดใดลัดเลาะมา ชายป่า ริมห้วยแก้วมองดูแล้ว ผู้มา หน้าสดใสบ้างหลอกล่อ ล้อเล่น กันตามวัยถึงทุกข์กาย แต่ใจสุข ไม่อาทร


เสียงโหยหวน ลิงค่าง บนยางใหญ่มองขึ้นไป ให้เห็น เป็นสังหรณ์จากถิ่นเกิด มาไกล ใจอาวรณ์สุดร้าวรอน ดวงฤดี ที่จากมายามเมื่อยล้า มองหา ผลคายเข่า (คล้ายเงาะ)ผลไม้เก่า มากมี ที่ในป่าทั้งมะเม่า สุกดำ ก็นำมาปลื้มอุรา ในพงพี มีของกินแว่วเสียงบ่น ดังมา ว่าข้าเหนื่อยทั้งปวดเมื่อย ปวดเข่า รวดร้าวสิ้นเปิบข้าวห่อ พอประทัง ยั้งชีวินย่างเข้าถิ่น พักกัน ตะวันรอนคาราวาน มาไกล ให้อ่อนล้าฝูงวัวควาย และม้า ต่างเหนื่อยอ่อนสั่งหยุดพัก หนองน้ำหน้า เพื่อพักนอนอย่าลืมต้อน วัวควาย ให้รวมกันหุงข้าวปลา ให้ทันกิน ก่อนสิ้นแสงอย่าลืมแบ่ง เวรยาม ตามจัดสรรของมีค่า นำมา ให้รวมกันกองไฟนั้น ต้องมี นี่สำคัญโอ้ยามดึก นึกไป ใจหายวับดวงเดือนดับ ลมพลิ้วมา ไก่ป่าขันหมาจิ้งจอก หอนมา ไม่ไกลกันที่หนาวสั่น นั่งยองยอง รอบกองไฟ


ตื่นเช้ามา กินข้าวปลา เดินทางต่อไม่ต้องรอ เพราะแดด จะแผดใส่แดดยังอ่อน รีบเดิน เพลิดเพลินไปอีกไม่ไกล ก็จะถึง จึงพักนอนเสียงตะโกน ดังมา ว่าถึงแล้วผูกวัวควาย เป็นแนว แถวนี้ก่อนร่มไม้ใหญ่ ใบหนา ดูน่านอนหายเมื่อยล้า กันก่อน ค่อยสุมไฟถึงหนองใหญ่ น้ำใส ปลาใหญ่น้อยผุดดำคอย การมา หาเมืองใหม่ช่อนชะโด แหวกว่าย มาแต่ไกลอีกเต่าใหญ่ และตะพาบ งาบเหยื่อมาภายในหนอง มองเห็น เป็นหญ้าเขียวดั่งแผ่นดิน ผืนเดียว ล้วนพฤกษางูน้อยใหญ่ ไล่งับ จับลูกปลาเหล่าสกุณา ขันคู เป็นคู่กันโดยรอบหนอง น้ำใส เป็นไผ่ป่าขึ้นรกทึบ แน่นหนา ดั่งในฝันมีคันคู ใครกั้น ทำไมกันหรือว่านั่น คือคู ของผู้ใด


หลวงจินดา เรียกประชุม กลุ่มหัวหน้าจัดบวงสรวง เทวา ก่อนอาศัยให้คุ้มครอง ลูกนกกา ที่มาไกลสร้างเมืองใหม่ คุ้มครอง ปรองดองกันให้ปลอดภัย จากโรคร้าย อีกไข้ป่าทั้งโรคห่า ภูติผี ที่เข้าฝันอีกคุดทะราด อย่าระบาด เข้ามากันเจ็บป่วยพลัน หายดี ไม่มีตายลึกเข้าไป ได้พบ ปราสาทเก่าความสูงราว สิบศอก พอบอกได้ไม้น้อยใหญ่ ปกคลุม อยู่ทั่วไปให้สงสัย ใครหนอ ก่อสร้างกันคงเป็นดิน ถิ่นเก่า ของชาวขอมขอนอบน้อม วิญญาณ การสร้างสรรค์อยากให้มี กู่เห็น เป็นสำคัญบัดนี้พลัน ลับหาย มลายลงแบ่งกำลัง เป็นหมู่ อยู่เป็นกลุ่มทั้งคนแก่ แลหนุ่ม ดังประสงค์เรื่องทุกข์ร้อน ปรึกษา กันโดยตรงหวังให้ส่ง ผลดี มีประธานเหล่าชายฉกรรจ์ จัดสรร ให้ถางป่าปลูกข้าวไร่ ถั่วงา เป็นอาหารทั้งฝ้ายขาว ฝ้ายสี ที่ต้องการคนชำนาญ ถักทอ ก็พอมีคนแก่ชรา หันหน้า ทำจักสานครุกระบุง กระเบียนจาน กันเต็มที่กระด้งกระชอน ไม้คาน จัดการทีจัดให้ดี มีใช้ ไม่อาทรยามค่ำคืน ดึกดื่น ใช้ขี้ไต้ (กระบอง)ส่องสว่าง ภายใน ที่พักผ่อนหลังอาหาร การกิน ก่อนเข้านอนก็พักผ่อน ด้วยเพลงลาว ของชาวดงเสียงดนตรี พื้นบ้าน ประสานเสียงคนข้างเคียง ออกนำ ท่ารำส่งรำไม่เป็น เห็นยกมือ ขึ้นขึ้นลงคนทั้งวง ต่างเพลิดเพลิน เกินเวลา


เสร็จการงาน ปากท้อง ก็ต้องคิดเรื่องของจิต งานบุญ หนุนศาสนาการสร้างวัด สำนักสงฆ์ ก็ตามมาชาวพารา ดีใจ ได้ทำบุญอาหารดี มีไว้ เตรียมใส่บาตรดูแลสงฆ์ ไม่ขาด ทั้งอุดหนุนนั่งสวดมนต์ ภาวนา ไว้เป็นทุนให้อบอุ่น บั้นปลาย ไปนิพพานวัดจัดสร้าง เอาไว้ ได้สองวัดสาธุชน ช่วยจัด ทั้งสองสถานชาวสนม ได้มีวัด ไว้ทำทานต่างเบิกบาน ถ้วนทั่ว ไม่มัวเมาการไปมา ระหว่างกัน นั้นลำบากด้วยตอไม้ และซาก ที่ตัดเผาทั้งไม้แหลม อีกหนาม ก็ทิ่มเอาด้วยเท้าเปล่า มากมี ที่อันตราย


หลังจัดการ บ้านอยู่ เป็นกลุ่มหมู่ท้าวจินดา เรียกชุมนุม กลุ่มสหายนำพลพรรค ร้องทุกข์ ต่อเจ้านายว่า (พระศรี) นครชัย กดขี่ อีกบีฑาขอสมัครใจ ขึ้นสุรินทร์ ถิ่นเมืองเก่าพร้อมทั้งเหล่า เลกมี ที่ปรึกษาจึงโปรดเกล้าเจ้า (เมือง) สุรินทร์ รับ (หลวง) จินดาพร้อมส่งส่วย ขึ้นมา ดั่งตั้งใจมีรับสั่ง ตั้ง (หลวง) จินดา ขึ้นชั้นพระหวังว่าจะ ภักดี มีใจให้พระภักดี พัฒนาการ ประทานไว้ยกขึ้นให้ บ้านหนองสนม สมใจปองพระภักดี ปลื้มใจ ในกรุณาจึงร่วมกับ ชาวประชา จัดงานฉลองพร้อมแต่งตั้ง ขุน-หลวง ร่วมปกครองเหล่าคนแก่ ญาติพี่น้อง แซ่ซ้องกัน


ตั้งสำนักงาน ที่ทำการ ขึ้นมาใหม่ต่างดีใจ เร็วรี่ ขมีขมันเป็นเรือนไม้ มุงหญ้า ช่วยหากันไม่กี่วัน เสร็จได้ ชื่อไทยโฮงกรมการเมือง มีเรื่อง ลงชำระก็มักจะ ร่วมใจ ใช้ห้องโถงทั้งวิวาท ทุบตี อีกขี้โกงก็ออกโรง ตัดสินความ กันตามจริงอยู่ว่างว่าง ไม่มีงาน ลงสานต่อครุตะกร้า เชือกปอ มีทุกสิ่งเข้าหน้าฝน สร้างศาลา ไว้พักพิงไม่มีนิ่ง ดูดาย ให้อายคน


ตลอดสิบปี พระภักดีฯ ที่ครองเมืองหามีเรื่อง วุ่นวาย หรือฉ้อฉลปฏิบัติกิจ ตามมี หน้าที่ตนมีสุขล้น ได้นายดี มีน้ำใจพระภักดีฯ มีแม่หมุ่ย เป็นแม่บ้านอยู่มานาน มีธิดา หน้าสดใสจากแม่เขียน ถึงแม่จูม คนถัดไปสุดวิไล แม่เปี่ยม เทียมแม่พริ้งมีลูกดี ดุจดั่งมี ซึ่งลูกแก้วพาเพริศแพร้ว วงศ์สกุล หนุนทุกสิ่งเสริมพงศา ญาติกา ได้พักพิงมีสุขจริง สุขใจ ไร้กังวล


ย่างสองสี่ สามห้า ดังฟ้าฟาดรัตนบุรี ประกาศ ตอนต้นฝนว่าสุรินทร์ แย่งดินแดน ถิ่นของตนพร้อมผู้คน กว่าห้าร้อย ไม่น้อยเลยมีบัญชา ให้พระยา มหาอำมาตย์ (หรุ่น)เร่งไต่สวน แล้วประกาศ อย่าเพิกเฉยหาความจริง แจ้งไป ได้อย่างเคยแต่ล่วงเลย นานมา หาแจ้งไปด้วยเหตุผล กลใด ก็ไม่ทราบหรือคำสาป บาปส่ง จากตรงไหนหรือมีใคร โกรธแค้น จากแดนไกลจำกลับไป รัตนบุรี ที่เก่าคืน


พระภักดี- พัฒนาการ ท่านผู้ใหญ่จะกลับไป ที่เก่า เล่าสุดฝืนให้กระอัก กระอ่วนใจ สุดกล้ำกลืนจำต้องยืน ข้างสุรินทร์ จนสิ้นใจจะกลับไป บ้านเก่า เขาคงหยันหมู่สหาย เพื่อนกัน คงผลักใสจำสนม ไปสุรินทร์ ด้วยอาลัยต้องหักใจ จากลา น้ำตาคลอ





หมายเหตุ : เลก (ภาษาโบราณ) ชายฉกรรฐ์ , พลเมืองชั้นสามัญ การสักเลก คือการสักข้อมือคนในบังคับ การสักเลกต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสักคนละ ๑ บาท ๑ เฟื้อง
ครูเพ็ญศรี ชัยงาม
ถ่ายเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 ณ เทศบาลตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

ไม่มีความคิดเห็น: