รำแถน ( รำพญาแถน - รำพระยาแถน ) ชุมชนบ้านนาดี ต.หนองระฆัง อ.สนม จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2553 เวลา 20.00 น. - 06.00 น.
เรื่องราวที่เกี่ยวข้องตำนานเริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลไม่ให้ฝนตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหาร และอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหาร และพญาแถน ฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นว่า... หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาทันที และถ้ากบเขียดร้อง ก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญานแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก
การประกอบพิธีกรรมรำแถน เป็นการขอขมาพระยาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อที่จะได้มีน้ำใช้ในการทำการเกษตร ทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นที่จัดสืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ ให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกหลาน อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับกลุ่มคนในชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ในทางที่ดีขึ้น และเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ที่จัดขึ้นสืบทอดต่อกันมาเมื่อครั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายาย ให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกหลาน สำหรับพิธีกรรมรำแถนของชุมชนบ้านนาดี ต.หนองระฆัง อ.สนม จ.สุรินทร์ นั้น เชื่อว่าเป็นการขอขมาพญาแถน ช่วยปกป้องให้กลุ่มคนในชุมชน จงมีแต่ความสุขความเจริญ อย่าได้มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆ เข้ามาเบียดเบียน หากคนในชุมชนเกิดเจ็บป่วยไม่สบายขึ้นมา โดยไม่ทราบสาเหตุ ก็จะประกอบพิธีรำแถนขับไล่สิ่งชั่วร้ายนั้นออกไป คล้ายกับลักษณะประเพณีของการรำผีฟ้า (ปอบผีฟ้า) แถบภาคเหนือนั่นเอง โดยเริ่มประกอบพิธีกรรมรำแถน ตั้งแต่เวลา 20.00 น. - 06.00 น. ภาษาที่ใช้ประกอบด้วย ภาษาขแมร์ (เขมร - กัมพูชา), ลาวอิสาน, ภาษากลาง ผสมกันไปตามแต่ช่วงโอกาส และจังหวะ
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น