วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รวมภาพสัตว์ต่างๆ ในเขตอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

ความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตมากมายสัตว์ต่างๆ ในอำเภอสนม เขตจังหวัดสุรินทร์นั้น พบว่า... การที่จะได้พบสัตว์แต่ละชนิดนั้นค่อนข้างใช้เวลาอยู่เหมือนกัน ยิ่งเป็นสัตว์ตามธรรมชาติแล้ว หากมาไม่ถูกช่วงจังหวะตามฤดูออกตัวของสัตว์แต่ละชนิดแล้วไซร้ ยากนักยากหนาจะได้พบเจอ และใช่ว่าข้าพเจ้าจะรู้จักชื่อสัตว์ต่างๆ ทุกตัวไป แต่ก็จะพยายามเก็บข้อมูล และอัพเดทไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อยอดไปก็แล้วกัน...

ฤดู และสภาพภูมิอากาศ อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ฤดูร้อน : กลางเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิต่ำสุด 28 องศาเซลเซียส, อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส (ช่วงประมาณกลาง-ปลายเดือนเมษายน)

ฤดูฝน : มิถุนายน - ตุลาคม
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศาเซลเซียส, อุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส

ฤดูหนาว : พฤศจิกายน - กลางเดือนกุมภาพันธ์
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิต่ำสุด 17 องศาเซลเซียส, อุณหภูมิสูงสุด 37 องศาเซลเซียส

ข้อมูลการจัดเก็บสถิติฝนตกตลอดทั้งปี ดูได้ที่หน้าแรกของเว็บสนม...คลิกที่นี่

หมายเหตุ : เริ่มเก็บข้อมูลสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน

รวมภาพสัตว์ต่างๆ มาใหม่ ล่าสุด...คลิกที่นี่



ภาพบน : แมงหัวแข็ง โอกาสพบมีน้อยมาก พบเห็นในฤดูฝน และฤดูหนาว เป็นแมงที่มีฤติกรรมพิเศษ คือ นอกจากจะบินได้แล้ว ยังดีดตัวได้อีกด้วย ลองเอานิ้วจับคาบระหว่างส่วนหัว และลำตัวของแมงหัวแข็งนี้พร้อมกัน แมงหัวแข็งจะพยายามดีดตัวให้พ้นจากมือเรา จะรู้สึกถึงแรงดีดที่รุนแรงจากการสัมผัสได้ไม่ยาก และแมงหัวแข็งสามารถใช้ส่วนหัวดีดหักลำแบบฉับไวสวนทางกับลำตัวได้อย่างคล่องแคล่ว และดีดตัวได้ไกลประมาณ 1 เมตร หรือไกลกว่าเล็กน้อย ระวัง..!! อันตรายมาก อย่าให้แมงหัวแข็งนี้เข้าหู ถ้าแมงได้ดีดตัวป้องกันภัยให้กับตัวเองในหูแล้ว คงเจ็บปวดเหลือประมาณเกินคำบรรยายใดๆ



ภาพบน และล่าง : ใส้เดือน ขนาดลำตัวใหญ่พบเห็นได้บ่อย โดยมากพบในฤดูฝน





ภาพบน : แมงมุม พบได้ทั่วไป ทุกฤดู



ภาพบน และล่าง : เต่าเหลือง มีลักษณะพิเศษ คือ ส่วนหัวของเต่าเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าหัวของเต่านา และมีลายสีครีมออกเหลืองอ่อนสลับกับสีน้ำตาลอมเทาพาดเป็นลายทางแนวเดียวกับลำตัว ตั้งแต่ส่วนหัวไปจนเกือบถึงส่วนหาง





ภาพบน : แมงที่กัดกินใบมะระ (มะระขี้นก) เป็นอาหาร





ภาพบน และล่าง : หนอนแมลงวัน กำลังกัดกินใบไม้ พฤติกรรมเมื่อกัดกินใบไม้แล้ว จะมีการกักเก็บอาหาร (ใบไม้) ไว้บนหลัง โดยอาหารจะถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในลักษณะเป็นลอนคล้ายกับใส้กรอก







ภาพบน และล่าง : กวาง นับสิบตัว ในบริเวณ "สวนแสนสุข รีสอร์ท" สามารถเยี่ยมชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.00 น.

ดูภาพ สวนแสนสุข รีสอร์ท...คลิกที่นี่





ภาพบน : กบเลี้ยง ที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดย...เทศบาลตำบลสนม เป็นโครงการเรียนรู้ การเลี้ยงกบแบบหมุนเวียน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.00 น.



ภาพบน : ผีเสื้อหลากสี ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์ ณ บริเวณ ใจสวรรค์ รีสอร์ท
ภาพล่าง : ฝูงวัว ที่เลี้ยงไว้ในคอก ส่วนหนึ่งของ ใจสวรรค์ รีสอร์ท เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพ

ดูภาพ ใจสวรรค์ รีสอร์ท...คลิกที่นี่





ภาพบน : แมลงกำลังวางไข่ ออกไข่ทีละฟองเรียงตัวกันเป็นแผ่นไปเรื่อยๆ โดยมีการเริ่มวางไข่จากบนลงล่าง เมื่อไข่แล้วเสร็จ เวลาผ่านไปได้สักพัก ก็จะใช้ลำตัวป้องไข่ให้ได้พื้นที่มากๆ เพื่อป้องกันไข่ให้พ้นภัยจากสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะตั๊กแตนตัวเล็กๆ จะคอยกระโดดเข้ามาก่อกวนเป็นระยะๆ (เข้าใจว่าตั๊กแตนกำลังจะเข้ามากินไข่) พบพฤติกรรมแมลงชนิดนี้ออกไข่ในช่วงก่อนปลายฤดูฝนระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม



ภาพบน และล่าง : แมงปอ ปีกขาวดำ พบได้ช่วงเดือนตุลาคม





ภาพบน : แมงช้างป่า (เรียกตามภาษาท้องถิ่นชุมชนสนม) ชอบอาศัยอยู่กับต้นไม้ที่มีเปลือกหนา และต้นไม้ที่มีลักษณะสูงใหญ่ ใช่ว่าจะพบได้แต่ในป่าเท่านั้น ในเขตชุมชนที่มีต้นไม้ตามลักษณะดังกล่าว ก็สามารถพบแมงช้างป่านี้ได้ไม่ยาก จะพบเห็นแมงช้างป่าเกือบทุกฤดูกาล และพบมากช่วงฤดูฝน



ภาพบน : ช้างจากอำเภอท่าตูม เข้ามาให้บริการนั่งช้าง ในอำเภอสนม (อำเภอท่าตูมมีเขตพื้นที่ติดกับอำเภอสนม) ให้บริการนั่งช้างครั้งละ 100 บาท และข้าพเจ้าเองก็ยังไม่เคยพบเห็นที่ใดเลยในเขตอำเภอสนมที่มีการเลี้ยงช้างสักแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่ดั้งเดิมที่นี่เล่าว่า...สมัยแต่ก่อนบ้านสนมมีการเลี้ยงช้างไว้เพื่อการใช้งานก็หลายแห่ง แต่แปลกอยู่เหมือนกันที่ปัจจุบันนี้ (อ้างอิง : 11 ต.ค. 2553) ไม่พบการเลี้ยงช้างที่ใดเลยในเขตอำเภอสนม แต่กลับพบว่า...จะมีช้างที่เข้ามาให้บริการนั่งช้างในเขตชุมชนสนมเป็นประจำเกือบทุกเดือน หากจะย้อนสถิติกลับไปในช่วงเวลาที่ห่างกันอย่างมากก็ไม่เกิน 2 เดือน และจะมีช้างหลายรายเข้ามาให้บริการวนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปอยู่เรื่อยๆ...



ภาพบน : หอยปัง มีลักษณะคล้ายกับหอยเชอรี่ ส่วนที่แตกต่างไปจากหอยเชอรี่ คือ ฝาหอย ของหอยปังนั้นจะมีขนาดใหญ่และกว้างกว่าหอยเชอรี่ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเท่ากำปั้นโดยประมาณ และเป็นที่นิยมรับประทานของใครหลายคน เพราะด้วยความที่หอยปังมีขนาดใหญ่ เนื้อเยอะ พบได้ตามทุ่งนาข้าว ในช่วงฤดูฝน เดือนมิถุนายน - ตุลาคม



ภาพบน และล่าง : หอย ที่ชาวบ้านบอก...ไม่รู้ เพิ่งจะเคยพบเจอ และไม่รู้จักชื่อ และที่ชาวบ้านรู้จักดี ได้แก่ หอยปัง, หอยเชอรี่, หอยขม, หอยนา, หอยทาก และหอยคัน ส่วนหอยในภาพนี้ไม่ทราื่บชื่อจริงๆ พบในฤดูฝนของปีนี้ (พ.ศ. 2553) ชาวบ้านฤาจะกล้ารับประทาน...มีเรื่องเล่าปะรำปะรามาแต่โบราณของชุมชนบ้านสนมเกี่ยวกับหอยว่า...ในอดีตเคยมีคนนำเนื้อหอยไปปรุงอาหารร่วมกับเนื้อกระต่าย พอรับประทานเข้าไปได้ไม่นาน คนที่รับประทานก็ตายทันทีอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย... ความหมายคือ ห้ามรับประทานเนื้อหอยกับเนื้อกระต่ายพร้อมกัน เพราะเชื่อว่า...เนื้อสองชนิดนี้เมื่อนำมาปรุงพร้อมกันก็จะกลายเป็นสารที่มีพิษ มีฤทธิ์อย่างรุนแรง สำหรับข้าพเจ้าเองยังไม่มีการพิสูจน์ใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และยังไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว หากว่าการนำเสนอข้อมูลของข้าพเจ้าเป็นเรื่องจริง ก็จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ก็ขอวอนอย่าได้สร้างบาปต่อกันเลยนะท่านทั้งหลาย... เมตตา ภูมะลา กายิกาเรนัง กัญจา ญะกาละเทอญ...







ภาพบน : กระต่าย (เลี้ยง)
ภาพล่าง : ฝูงไก่บ้าน





ภาพบน : ภาษากลางเรียก "จิงโจ้น้ำ" ภาษาใต้เรียก "โก๊ะน้ำ" ภาษาอีสานเรียก "แมงขี่โก๊ะ" พบได้ทุกฤดูกาล อาศัยอยู่บนน้ำ ตามห้วย หนอง คลอง บึง และตามสระน้ำขนาดใหญ่ ยากนักที่จะพบในแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพราะสัตว์ชนิดนี้ชอบวิ่งแบบยิ่งยวด รวดเร็วและอาศัยอยู่บนผิวน้ำ และจะหยุดนิ่งได้ไม่นาน ก็จะวิ่งพล่านสลับกับหยุดนิ่งในลักษณะวนลูปไปเรื่อยๆ เพียงแต่จะมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางแตกต่างกันไป หากจะว่ากันไปตามหลักฟิสิกส์แล้ว จิงโจ้น้ำ ยืนอยู่บนน้ำได้ด้วยแรงตึงผิวของน้ำนั่นเอง...



ภาพบน และล่าง : แมงปอ หลากชนิด พบได้มากน้อยแตกต่างกันตามแต่ช่วงฤดู พบมากในช่วงปลายฤดูฝน และมากที่สุดในช่วงต้นฤดูหนาว







ภาพบน : นกเอี้ยงแดงขาหัก จับได้แล้ว...ก็นำมาปฐมพยาบาล พอหายดีแล้วก็ปล่อย



ภาพบน : วัวพื้นบ้าน พบว่า วัว จะไม่มีการอาบน้ำ หรือลงแช่น้ำ เหมือนควายแต่อย่างใด จะไล่จะตีลงให้อาบน้ำ วัวก็จะสู้สุดชีวิตเลยทีเีดียวในการที่จะไม่ขอลงน้ำเด็ดขาด ไม่ต่างจากโรคกลัวน้ำเอาเสียเลย หากใครได้พบเห็นวัวลงไปแช่น้ำแล้วหล่ะก็ ไม่ธรรมดาแน่...เพราะเป็นภาพที่หาดูได้ยากมาก ซึ่งแตกต่างกับควาย ดังภาพถัดไปโดยสิ้นเชิง หากอากาศร้อนมากๆ ควายจะลงแช่ตัวเองอยู่ในน้ำ บางตัวใช้เวลาแช่น้ำสบายเชียว กินเวลาเป็นชั่วโมงก็มี

อารัมภิมุข : หากนำวัว และควายไปล่ามตากแดดไว้ทั้งวัน พบว่า...วัวนั้น เพียงแต่ตักน้ำไปให้ดื่ม ก็สามารถทนแดดได้ทั้งวัน แต่ควายทนต่อแสงแดดเป็นเวลานานไม่ได้ จะตายเสียให้ได้ ดังคำคมอีสานว่า "ควายตายแดด" คือ ควายทนแดนที่ร้อนมากไม่ได้ และเคยมีเหตุการณ์ที่คนได้นำควายไปล่ามไว้เพื่อกินหญ้ากลางแดด แล้วลืมนำเอาควายเข้าร่ม (ร่มไม้, ร่มคอก) นึกได้...หวังรีบนำควายเข้าร่ม พบ...ควายนอนตายกลางทุ่งนาเสียแล้ว ส่วนเรื่องความทนต่ออากาศหนาว ในช่วงฤดูหนาวนั้น ควายผ่าน แต่วัวไม่ผ่าน วัวจะต้องมีตัวช่วย คือ ชาวนาจะมีการก่อไฟให้กับวัวในช่วงอากาศหนาวมากๆ คือ ช่วงเวลาใกล้เที่ยงคืนจนถึงสว่าง หากช่วงใดอากาศหนาวไม่มาก ก็จะใช้ฟางปูเป็นพื้นหนาๆ ให้วัวได้นอนบนพื้นฟางนั้น เพื่อรักษาความอบอุ่นให้กับวัวได้อีกระดับหนึ่งที่วัวพอจะทนหนาวได้ในช่วงเวลาข้ามคืนสู่อีกวัน... และว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว วัวมีผิวหนังที่เป็นสีอ่อน เมื่อแสงแดดกระทบกับผิวหนังของวัว ผิวหนังก็จะไม่ค่อยกลืนแสง ทำให้วัวรู้สึกไม่ค่อยร้อนมากนัก และอยู่ในสภาพที่ทนต่อแสงแดดได้ ส่วนควาย มีสีผิวที่เข้ม ดังนั้นผิวหนังของควายเมื่อกระทบแสงแดด ก็จะมีการกลืนแสงมาก ทำให้ควายรู้สึกร้อนมาก ถึงขนาดกับทนไม่ได้ และนี่คือที่มาถึงสาเหตุที่วัว และควายที่้มีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน แต่มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ... หากรู้จักนำหลักวิทยาศาสตร์นี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะเป็นการลดต้นทุนความเสี่ยงให้กับตัวเองไม่น้อย เช่น หากต้องการซื้อรถไม่กลัวแดดหล่ะก็...ควรซื้อรถสีสว่างๆ เข้าไว้ เช่น สีขาว แสด ฟ้า บรอนด์ เงิน ทอง หรือจะนำไปเลือกซื้อเสื้อผ้าไม่กลัวแดด ร่มไม่กลัวแดด ก็ใช้หลักการเลือกสีสว่างตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น (เล่าเรื่องวัวกับควายสะยาวเลย เพราะสมัยเด็กๆ ผู้เขียน (ข้าพเจ้า) เคยเป็นเด็กเลี้ยงควายมาก่อน..เห๋อๆ)









ภาพบน : งูเห่าน้ำ
ภาพล่าง : นกเขา





ภาพบน : ทาก ทากชนิดนี้ไม่ดูดเลือด มีขนาดโตเต็มที่เท่านิ้วก้อย ดังภาพ เป็นทากเปลือยที่กำลังเร่หาที่อยู่อาศัย คือ เปลือกหอยเปล่า เพื่อใช้อาศัย และป้องกันภัยให้กับตัวเอง เมื่ออยู่ในร่างหอยแล้ว เรียกว่า "หอยทาก" และเป็นหอยทากต่างชนิดกันกับหอยทากชนิดเล็กที่พบในป่า ส่วนหอยทากชนิดนี้พบในชุมชนบ้านสนม พบในฤดูฝน และจะไม่พบในฤดูอื่น



ภาพบน และล่าง : เต่าดาว พบในทุ่งนา ชาวบ้านเชื่อว่า เต่าชนิดนี้มีคนได้นำมาเลี้ยงในแถบบ้านสนม และเต่าได้มีการหลุดออกมาโดยไม่ตั้งใจ คงไม่มีใครนำเต่ามาปล่อยทิ้งเป็นแน่ เพราะเต่าดาวมีราคาค่อนข้างสูง โดยที่ตลาดจตุจักร (เจเจ กรุงเทพฯ) จำหน่ายเต่าดาวตัวเล็กเริ่มกันที่ราคาสูงถึงตัวละ 4,000 - 5,000 บาท ตัวใหญ่จำหน่ายกันถึงราคาเลขห้าหลักกันเลยทีเดียว

ที่มา : เต่าดาว มีต้นกำเนิดแถบประเทศดินเดีย





ภาพบน : กิ้งก่า ภาษาอีสานเรียก "กะปอม" คือ กิ้งก่าตัวจ้อย ไม่ใหญ่ ไม่โต ขนาดลำตัวโตเต็มที่ประมาณเท่านิ้วกลาง และมีสีโทนเดียว คือ โทนเกรย์ปนน้ำตาล ไม่สามารถเปลี่ยนสีได้ และกิ้งก่า ภาษาอีสานเรียก "กะท่าง" กิ้งก่าชนิดนี้ มีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่เท่านิ้วชี้กับนิ้วกลางรวมกัน และสามารถเปลี่ยนสีให้เข้ากับแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สีที่พบบ่อยของกิ้งก่า "กะท่าง" คือ สีน้ำเงินไชน์สะท้อนแสง แดงเลือดหมู และสีเกรย์ ส่วนภาพบน คือ กิ้งก่า "กะปอม" ไว้โอกาสหน้าค่อยเล่าถึงวีรกรรมการล่า "กะปอม" และ "กะท่าง" ของเด็กๆ อีสานบ้านเฮา ก็แล้วกัน... เพราะเรื่องยาวมาก...สามวัน เล่าจบหรือเปล่าก็มะรุ.....







ภาพบน : ตั๊กแตน ตัวใหญ่ขนาดลำตัวเท่าสีเมจิค



ภาพบน : แมงหม่อน แต่ที่พบส่วนใหญ่ แมงหม่อน จะมีสีคล้ายเปลือกไม้ ชอบกินใบหม่อน และเจาะรูอาศัยในต้นหม่อน จัดได้ว่าหาพบยากอยู่เหมือนกัน และในภาพบน เป็นแมงหม่อนสีแสดเข้มอมแดง คงไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานอีกเท่าใด จึงจะได้พบอีก ต้องอาศัยโชคชะตาเข้าช่วยแล้วกระมัง



ภาพบน : ปลาดุกรัสเซีย อายุ 1 ปี ขนาด 1 ฟุตโดยประมาณ (อ้างอิง : เมษายน 2553) เจ้าของปลาดุกรัสเซียตัวนี้ หวังเลี้ยงให้ได้ความยาว 1.5 เมตร ในระยะเวลา 5 ปี (เิอาใจช่วยอย่างแรง)



ภาพบน : ตัวปาด ภาษาอีสานเรียก "เขียดตะปาด" หรือ "เขียดตับปาด" มีรูปร่าง และลักษณะคล้ายกบ เพียงแต่ ตัวปาด จะมีสีผิวที่ฉูดฉาด และผิวเรียบกว่า สำหรับตัวปาดที่พบบ่อยในแถบอีสานบ้านสนมนี้ จะมีสีเขียวลายทางยาวเดียวกันกับลำตัวของตัวปาดสลับกับสีครีม และ ปาด ชนิดนี้ไม่มีพิษใดๆ ดังเช่นภาคอื่นๆ ของประเทศไทย หรือเท่าที่ทราบว่า... ปาด ในแถบอเมริกา มีพิษร้ายแรง ถึงขั้นสามารถฆ่าคนตายได้ในพริบตา



ภาพบน และล่าง : งูดิน พบในดินใต้รากไม้ลึกลงไปประมาณ 8 - 15 เซ็นติเมตร และพบหา "งูดิน" ได้ยากมาก มีกลิ่นคาวมาก ในระยะรัศมี 5 เมตร ยังได้กลิ่นคาวของงูดินไม่จืดจาง หากย้อนหลังไปสักชั่วอายุคนกว่าๆ (ประมาณ 120 ปี) ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นี่ เล่าว่า...น้อยนักน้อยหนาที่จะได้ยินได้ฟังว่า...มีคนถูกงูดินกัดตาย แต่ก็พอจะได้ยินเรื่องเล่ามาอยู่บ้างว่า...เคยมีคนถูกงูดินกัดตาย โดนกัดแป๊บเดียว...ก็ตายแล้ว โดยเชื่อว่า งูดิน คงมีพิษอย่างร้ายแรงนั่นเอง





ภาพบน : ด้วงมะพร้าว กำลังใช้ปากที่มีลักษณะเป็นงวงแข็งๆ เจาะกินน้ำ และเนื้อไม้มะพร้าว ที่ตัดทิ้งไว้เพียง 1 วัน
ภาพล่าง : ตะขาบ อีสานเรียก "ขี้เข็บ"





ภาพบน และล่าง : ลูกหมู อายุ 3 สัปดาห์ กำลังดูดนมแม่หมู





ภาพบน และล่าง : เป็ดไทย





ภาพบน : เป็ดเทศ







ภาพบน : ตัวเงิน ตัวทอง มีลักษณะคล้าย "ตุ๊ดตู่" หรือ "ตะกวด" กินปลา หรือซากอาหารเน่าเสีย โอกาสในการพบมีน้อยมาก









ภาพบน : แมงช้าง พบได้ทุกฤดูกาล มีลักษณะปีกแ็ข็ง และมีสีเขียวโทนเข้ม และอ่อนปนกัน เมื่อจับต้องสีผิว จะมีสีเขียวของแมงช้างติดมือออกมาด้วย ตัวโตเต็มที่ขนาด 0.5 เซ็นติเมตรโดยประมาณ





ภาพบน : กิ้งกือแดง ขนาดเล็ก ลำตัวเท่าตะเกียบ มีสีน้ำตาลออกแดงเข้ม ชาวบ้านบอก...กิ้งกือชนิดนี้มีพิษ แต่ไม่รุนแรง





ภาพบน : ตั๊กแตนตัวเล็ก พบได้ทั่วไปทุกฤดู





ภาพบน : แมงแคง หรือ แมงเหม็น มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว











ภาพบน : แมงมุม ขนาดจิ๋ว



ภาพบน : นกเอี้ยงโมง หรือ นกเอี้ยงขาว



ภาพบน : นกเอี้ยงแดง



ภาพบน : นกเอี้ยงดำ



ภาพบน : นกขุนทอง



ภาพบน : ตัวบุ้ง อีสานเรียก "กะบ้งหมาน้อย"





ภาพบน และล่าง : กิ้งกือ ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณนิ้วกลาง หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย





ภาพบน : นกหัวขวาน



ภาพบน : ปูนา อีสานเรียก "กะปู"



ภาพบน : ตุ๊กแก ภาษาอีสานเรียก "กั๊บแก้"



ภาพบน : แมงปุ่ง ชอบอาศัยอยู่บนต้นข่อยขนาดใหญ่











ภาพบน : อึ่งโอด



ภาพบน : แม่เป้ง











ภาพบน : อึ่ง หรือ อึ่งอ่าง



ภาพบน : แมงทับ



ภาพบน : แมงตับเต่า



ภาพบน : แมงอีนูน อาศัยอยู่ในมูลควาย อีสานเรียก "กุดจี่ขี้ควาย" มีลักษณะสีดำเข้ม



ภาพบน : แมงจีซอน อีสานบางท้องที่เรียก "แมงกะซอน" หรือ "กะซอน"



ภาพบน : ตั๊กแตน ลักษณะนี้ อีสานเรียก "อีโต่งเจ้ย"



ภาพบน : แมงอีนูน อาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่



ภาพบน : จิ้งหรีด อาศัยอยู่ในรูใต้ดิน อีสานเรียก "อีโป่ม"







ภาพบน : มดแดง
ภาพล่าง : มดดำ





ภาพบน : ปลวก



ภาพบน และล่าง : กิ้งก่า สีเทา และน้ำตาล อีสานเรียก "กะปอม"



รวมภาพสัตว์ต่างๆ มาใหม่ ล่าสุด...คลิกที่นี่

5 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขาดสัตว์อีกตัวมั้งคะ กุดจี่ขี้ อยาดดู เอาที่แบบกำลังปั้นก้อนกลม ๆ เลยนะ...ชอบอ่ะ

nanajung กล่าวว่า...

พึ่งรู้ว่าที่บ้านเราก้อมีสัตว์ไม่แปลกแต่ก้อดูแปลกแปลก

ขาแทง กล่าวว่า...

น่าดู ชม อย่างยิ่ง

โขง กล่าวว่า...

ขอบคุณผู้ดูแลที่หามาให้ดูดีมากกกกคับ

Unknown กล่าวว่า...

สวยงามมากค่ะ