วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

สาธิต "การทำนาโยนกล้า"

กิจกรรมสาธิต "การทำนาโยนกล้า" โดย...โครงการลูกชาวนา บ้านสนม ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนอำเภอสนม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 เวลา 09.30 น. - 11.30 น. มีผู้เ้ข้าร่วมการสาธิตหลายหน่วยงาน ได้แก่ นายอำเภอสนม, คณะครู อาจารย์โรงเรียนสนมวิทยาคาร - โรงเรียนสนมศึกษาคาร - โรงเรียนบ้านสำโรง, สำนักงานเกษตรอำเภอสนม, กำนันตำบลสนม, ตัวแทนกลุ่มชาวนาสนม และเทศบาลตำบลสนม





นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ (นายอำเภอสนม) ประธานในพิธี



























































































น.ส.จิดาภา สุขสานต์
ประธานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอสนม


ดู แปลงนานายดิลก วงศ์ฉลาด ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า


การทำนาโยนกล้า
การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การทำนาได้ผลผลิตที่มากกว่า ในอดีตเกษตรกรใช้วิธีหว่านน้ำตม ซึ่งประสบปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาข้าววัชพืช และมีอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สูง การปลูกข้าว เกษตรกรส่วนหนึ่ง จึงได้เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวแบบหว่านตม มาเป็นการปักดำแทน เพื่อลดปัญหาข้าววัชพืช แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เกษตรกรที่ไม่สามารถเตรียมดิน ให้มีสภาพที่เหมาะกับการปักดำได้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่สูง

ปัจจุบันเกษตรกร ได้มีวิธีการทำนาแบบใหม่ ที่ไม่ทำให้แค่ปัญหาข้าววัชพืชลดลง แต่ทำให้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่น้อยลง และลดค่าใช้จ่ายด้วย วิํธีการทำนาแบบใหม่นี้เรียกว่า "การทำนาโยนกล้า"

พื้นที่แนะนำสำหรับการทำนาโยนกล้า 90
1. พื้นที่ประสบปัญหาข้าววัชพืชมาก
2.ผลิตไว้ัในศูนย์ข้าวชุมชน หรือไว้ใช้เอง
3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์

วิธีการทำนาโยนกล้า
การตกกล้า
ตกกล้าในกระบะเพาะ ที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้
1. ใส่ดินในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของหลุม
2. โรยเมล็ดข้าวงอกลงในหลุม ให้ได้อัตรา 3-4 กิโลกรัม/60-70 ถาด/ไร่
3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าวในกระบะ ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว
4. หาวัสดุ เช่น กระสอบป่าน คลุมถาดเพาะเพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนต้นกล้าอายุ 15 วัน
5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงนาที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 ถาด)/วัน

การเตรียมแปลง
ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน

ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วัน โดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดข้าวที่หล่นงอกแล้ว จึงไถแปร

คราด หรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วัน การคราด หรือทุบนี้ จะช่วยในการทำลายวัชพืชได้เป็นอย่างดี หรือหลังจากการไถดะเสร็จแล้ว ให้เอาน้ำแช่ขังไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่ยังหลงเหลืออยู่งอก แล้วจึงคราดละเอียดอีกครั้ง เป็นวิธีการทำลายวัชพืชอีกวิธีหนึ่ง

ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ กระทำได้โดยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยใช้น้ำในนาเพียงระดับตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปู ก็จะเห็นได้ว่า สภาพที่นาเรียบเพียงใด เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอ ก็ควรปรับใหม่ เพื่อจะได้ควบคุมน้ำได้สะดวก

การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะข้าวที่มีอายุ 15 วัน มาวางไว้ตามแปลงนา จับต้นกล้าขึ้นประมาณ 5-15 หลุม โยนตวัดมือขึ้นเหนือศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งดิ่งลง

การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ครึ่งหนึ่งของต้นข้าว เพื่อควบคุมวัชพืช

ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้า เปรียบเทียบกับการปักดำ และหว่านตม
1. แปลงที่มีลักษณะหล่ม ก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่สามารถปลูกได้โดยมีวิธีการปักดำได้ (กรณีใช้เครื่องปักดำ)
2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่น้อยกว่าการหว่านตม และการปักดำ
3. สามารถควบคุม และลดปริมาณวัชพืช และข้าววัชพืช ได้ดีกว่าการหว่านน้ำตม
4. ลดการใช้สารเคมีในการป้องกันการกำจัดศรัตรูข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับการหว่านน้ำตม


ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง : เกี่ยวข้าว ผลิตผลการทำนาโยนกล้า
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง : ชุมชน "บ้านสำโรง" ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : ร่วมปลูกป่าวันแม่ @ บ้านสำโรง
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : สำโรงฟิชชิ่ง บริการตกปลาบ้านสำโรง

ไม่มีความคิดเห็น: