ภาพบน : ซ้าย คือ ศาลพระภูมิ, ขวา คือ ศาลเจ้าที่
การตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่
การตั้งศาลในที่นี้ หมายถึง การตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ก่อนการตั้งศาลนั้นจะต้องเชิญผู้ที่ทำหน้าที่ตั้งศาล คือ "หมอตั้งศาล" ให้ไปดูสถานที่ก่อน ถึงทำเลที่เหมาะสม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เห็นสมควรในการตั้งศาล อาทิ การตั้งศาลจะต้องอยู่ในสถานที่ๆ สะอาด, สิ่งกีดขวางต่างๆ, ใกล้กับสิ่งอัปมงคลอื่นๆ หรือไม่ เช่น ใกล้สิ่งเน่าเหม็น สุขา ห้องน้ำ
การตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ ต้องตั้งในพื้นดิน ห้ามตั้งบนบ้าน หรือบนตึกเป็นอันขาด ศาลพระภูมิจะมีเสาต้นเดียว และศาลเจ้าที่มีเสา 4 ต้น
การหันหน้าศาลพระภูมิ
การหันหน้าศาล จะหันได้เพียง 3 ทิศ ได้แก่
- ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
- ทิศอุดร (ทิศเหนือ)
- ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันกับเดือนที่ห้ามตั้งศาล
- เดือน 1 (เดือนอ้าย - ธันวาคม) ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน 2 (เดือนยี่ - มกราคม) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน 3 (กุมภาพันธ์) ห้ามตั้งศาล วันอังคาร
- เดือน 4 (มีนาคม) ห้ามตั้งศาล วันจันทร์
- เดือน 5 (เมษายน) ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน 6 (พฤษภาคม) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน 7 (มิถุนายน) ห้ามตั้งศาล วันอังคาร
- เดือน 8 (กรกฎาคม) ห้ามตั้งศาล วันจันทร์
- เดือน 9 (สิงหาคม) ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน 10 (กันยายน) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน 11 (ตุลาคม) ห้ามตั้งศาล วันอังคาร
- เดือน 12 (พฤศจิกายน) ห้ามตั้งศาล วันจันทร์
ชื่อพี่เลี้ยง หรือคนรับใช้พระภูมิ
พระภูมิ ท่านมีคนรับใช้ หรือพี่เลี้ยง 3 คน การถวายเครื่องสังเวย ก็จะต้องออกชื่อพี่เลี้ยงทั้ง 3 นี้ด้วย ให้จัดการนำถวายข้าวของ ถวายพระภูมิเป็นการส่วนตัว เช่นเดียวกับการที่เด็กวัดจัดอาหารเข้าไปประเคนพระฉันใดก็ฉันนั้น
ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 1 คือ นายจันทร์ หรือนายหลวง
ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 2 คือ นายทิศ หรือนายขุน
ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 3 คือ นายอาจเสน หรือนายหมื่น
ทิศทางของพระภูมิ
สิ่งของที่จะนำไปถวายพระภูมิ ได้แก่ ดอกไม้ พวงมาลัย อาหาร และน้ำ รวมทั้งการจุดธูปเทียนบูชา การทำความสะอาดศาล จะต้องเข้าทางทิศที่เป็นเท้า อย่าเข้าทางด้านหัวเป็นอันขาด แล้วเรียกออกชื่อให้นายทั้ง 3 ผู้เป็นพี่เลี้ยง หรือคนรับใช้ ให้นำสิ่งของเหล่านี้ เข้าไปถวายพระภูมิอีกต่อหนึ่ง และเชื่อว่าพระภูมิ...ท่านจะอวยพรให้มีความสมบูรณ์พูลผล ค้าขายกำไรงาม
วันอาทิตย์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศบูรพา (ตะวันออก) เอาเท้าไปทางด้านทิศประจิม (ทิศตะวันตก)
วันจันทร์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) เอาเท้าไปทางด้านทิศพายัพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันอังคาร - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศทักษิณ (ใต้) เอาเท้าไปทางด้านทิศอุดร (เหนือ)
วันพุธ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) เอาเท้าไปทางด้านทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันพฤหัสบดี - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศประจิม (ตะวันตก) เอาเท้าไปทางด้านทิศบูรพา (ตะวันออก)
วันศุกร์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) เอาเท้าไปทางด้านทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
วันเสาร์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศอุดร (เหนือ) เอาเท้าไปทางทิศทักษิณ (ใต้)
คาถาขอขมาพระภูมิ
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง
ที่มาพระคาถา : หลวงพ่อโอภาสี แห่งวัดกลางสวน บางมด ฝั่งธนบุรี รวมกับการขอขมาพระภูมิแล้ว เป็นการเพิ่มพลังจิต และพลังศรัทธา ทำให้องค์พระภูมิท่านใจอ่อน เกิดมีใจเมตตา อภัยในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราได้ก้าวก่าย หรือพลาดพลั้งกระทำในสิ่งที่ผิดลงไป...ทั้งรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม
เครื่องสักการะบูชาพระภูมิ
การสักการะบูชาพระภูมินั้น มิได้เหมือนกันตลอดไป ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามเดือนที่กำหนด การบูชา การจัดเครื่องสังเวย และสิ่งของที่จะต้องใช้ ให้ถูกต้องตามเจตนา จะเสริมสร้างสิริมงคลให้กับตนเอง และครอบครัวยิ่งๆ ขึ้นไป ตามเดือนที่หมุนเวียน ดังต่อไปนี้
เดือน 5 และเดือน 6 - เจ้ากรุงพาลี ราชบิดาขององค์พระภูมิ ท่านแปลงเพศเป็นยักษ์ มีความดุร้ายเป็นที่สุด การจัดเครื่องสักการะในเดือนนี้ ต้องมี กุ้งพล่า ปลายำ เนื้อย่าง (เนื้อหมู, เป็ด, ไก่, วัว และอื่นๆ ตามสมควร) แต่ให้เป็นของสด ของคาว ก็จะเป็นที่พอใจของท่าน หากตั้งศาลในเดือนดังกล่าวนี้ ก็ให้สูงเท่าปาก ใช้ผ้าแดงปูรองเครื่องสังเวย มีเหล้ายาสารพัด เทียนขาว 9 เล่ม และเครื่องสังเวยอื่นๆ
เดือน 7 และเดือน 8 - เจ้ากรุงพาลี หลายเพศเป็นพราหมณ์สวยสดงดงาม งดเนื้อสัตว์ และของคาวสารพัด ใช้ผ้าขาวปูรองเครื่องสังเวยมังสวิรัติ
เดือน 9 และเดือน 10 - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นราชสีห์ ชอบของสด ของคาว ใช้ผ้าเหลืองปูรองเครื่องสังเวย จะเกิดลาภผลเหลือประมาณตามความต้องการทุกอย่าง
เดือน 11 และเดือน 12 - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นช้าง ต้องมีหญ้าแพรก หญ้าปล้อง อย่างละ 7 ใช้ผ้าดำปูรองเครื่องสังเวย จะเกิดลาภผลสวัสดี ห้ามใช้ของคาว
เดือน 1 (เดือนอ้าย) และเดือน 2 (เดือนยี่) - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นนาคราช ให้ตั้งศาลสูงแค่สะดือ จะมีเกียรติยศ และชื่อเสียงเลื่องลือไกล ของคาวทั้งหลายให้นำมาสักการะ
เดือน 3 และเดือน 4 - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นครุฑ สักการะบูชาด้วยของสด ของคาว กุ้งพล่า ปลายำ เป็นสิ่งบันดาลโชคลาภ โทษภัยจะหนีห่าง มีแต่ความสุขสำราญ
ในการจัดเครื่องสักการะนี้ จะต้องทำให้ถูกต้องตามประสงค์ จึงจะเกิดลาภผลดลช่วยให้พ้นภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง มีแต่โชคลาภนานาประการ
หมายเหตุ : เกี่ยวกับเครื่องสักการะบูชาของเดือนใดมิได้กำหนดแจ้งผ้าปูรองเครื่องสักการะบูชาไว้ ให้ใช้ผ้าขาวเพื่อปูรองเครื่องสักการะประการฉะนี้แล....
คาถาบูชาพระภูมิทุกวัน
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญ ชันโต รัตตินเทวะ มะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโตจะ ปาปังกิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิ คุณูปเปตัง ปะริตตันตัม ภะณามะเห
หากตั้งศาลพระภูมิไว้ในเขตบริเวณบ้าน จงใช้คาถานี้ บูชาทุกวัน จะเกิดสิริมงคล และบันดาลโชคลาภ ลาภผลนานานัปการ ถ้าหากสวดให้ครบตามกำลังวัน ก็จะดียิ่งๆ ขึ้นไป คือ
วันอาทิตย์ - สวด 6 จบ
วันจันทร์ - สวด 15 จบ
วันอังคาร - สวด 8 จบ
วันพุธ - สวด 17 จบ
วันพฤหัสบดี - สวด 19 จบ
วันศุกร์ - สวด 21 จบ
วันเสาร์ - สวด 10 จบ
หากมีเวลาน้อย ก็สวดวันละ 1 จบ หรือครั้งละ 1 จบก็ได้ โดยสวดสม่ำเสมอทุกวัน อย่าให้ขาด พร้อมทั้งดอกไม้ หรือพวงมาลัยสด ธูปเทียน จุดบูชาเป็นประจำ ก็จะบังเกิดผลดีัตลอดไป...
หมายเหตุ : ตัวอย่างการตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ ที่ได้นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการตั้งศาลในบ้านของ "นายจ่อย และนางไม" ตรงกับเดือนสิบนั้น พบจุดสังเกต คือ เป็นการตั้งศาลที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลการตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ตามหลักโหราศาสตร์ตามที่ได้เสนอไปแล้วนั้น การตั้งศาลเดือน10 (กันยายน) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์ แต่ตัวอย่างการตั้งศาลที่นำเสนอนี้ คือ เดือน 10 และตรงกับวันศุกร์ต้องห้าม สอบถามได้ความว่า...บ้านสนม มีความเชื่อว่า...หากจะทำการ หรืองานมงคลใดๆ ก็ตาม ให้จักทำในวันศุกร์เข้าไว้ เชื่อ...เมื่อทำวันศุกร์แล้ว จะทำให้ชีวิตเป็นสุข อยู่อย่างสุขสบาย โดยเชื่อตามคำพ้องเสียง คือ "ศุกร์" ให้ความหมาย คือ "สุข" นั่นเอง...
ประวัติของพระภูมิ
กาลครั้งหนึ่ง มีกษัตริย์ผู้ครองกรุงพาลี ทรงพระนามว่า..ท้าวทศราช มีพระมเหสีทรงพระนามว่า...พระนางสันทาทุก มีพระราชโอรส 9 พระองค์ มีปัญญาเฉลียวฉลาด รอบรู้ในสิ่งต่างๆ ยิ่งกว่าบุคคลทั้งหลาย
พระองค์ที่ 1 : พระชัยมงคล
พระองค์ที่ 2 : พระนครราช
พระองค์ที่ 3 : พระเทเพล
พระองค์ที่ 4 : พระชัยสพ
พระองค์ที่ 5 : พระคนธรรพ์
พระองค์ที่ 6 : พระธรรมโหรา
พระองค์ที่ 7 : พระเทวเถรวัยทัต
พระองค์ที่ 8 : พระธรรมมิกราช
พระองค์ที่ 9 : พระทาษธารา
แต่ละพระองค์มีอิทธิฤทธิ์มาก ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นอย่างดี ถ้าหากคิดว่าจะทำอะไร ก็ต้องทำได้ทุกอย่าง จะเป็นในทางสุจริต หรือทุจริตก็ทำได้ทั้งนั้น ทรงมีปัญญาแก้ไขในเหตุการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ครบทั้ง 9 พระองค์ โดยไม่มีใครเหลื่อมล้ำต่ำสูงกว่ากันเท่าใดนัก การเป็นอยู่พอๆ กันทั้งหมด
ครั้นต่อมา...พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ทรงเจริญพระชันษา พระราชาทศราชกับพระนางสันทาทุก ปรึกษาหารือกัน จนเป็นที่ตกลงกันว่า จะต้องมอบให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ไปปกครองเขตนิเวศสถานต่างๆ จึงมอบให้
พระโอรสองค์ที่ 1 พระชัยมงคล ไปครอบครองดูแลสถานบ้านเรือน และโรงร้าน
พระโอรสองค์ที่ 2 พระนครราช ไปครอบครองดูแลประตู ป้อม ค่าย บันได หอรบ
พระโอรสองค์ที่ 3 พระเทเพล ไปครอบครองดูแลคอกสัตว์ต่าง ๆ ที่มี
พระโอรสองค์ที่ 4 พระชัยสพ ไปครอบครองดูแลยุ้งฉาง และ เสบียงคลัง
พระโอรสองค์ที่ 5 พระคนธรรพ์ ไปครอบครองดูแลเรือนหอ และ โรงพิธีแต่งงาน
พระโอรสองค์ที่ 6 พระธรรมโหรา ไปครอบครองดูแลเรือกสวน ไร่นา และ โรงนา
พระโอรสองค์ที่ 7 พระวัยทัต ไปครอบครองดูแลวัดวาอาราม และ ปูชนียสถาน
พระโอรสองค์ที่ 8 พระธรรมมิกราช ไปครอบครองดูแลพืชพันธ์ธัญญาหารต่างๆ
พระโอรสองค์ที่ 9 พระทาษธารา ไปครอบครองดุแลห้วยหนอง คลอง บึง บ่อ และ ลำธาร
เมื่อมอบหมายหน้าที่ ให้ครบทั้ง 9 พระองค์แล้ว ท้าวทศราช ผู้ซึ่งมีจิตใจที่ผิดมนุษย์ธรรม สันดานโกง หยาบช้าลามก เห็นแก่ได้ในสิ่งต่างๆ ด้วยความโลภไม่มีวันสิ้นสุด เที่ยวคดโกงรังแกชาวประชา ต่างได้รับความเดือดร้อนกันไปทั่วทุกมุมเมือง ยังใช้ให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ กระทำการหยาบช้า โดยการเข้าไปสิงสู่ในผู้คน แล้วก็เรียกร้องเครื่องสังเวย และสินบน คนละจำนวนมากๆ โดยที่ไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรม จนชาวประชาเดือดร้อนเป็นอย่างหนัก แต่ก็พูดอะไรไม่ออก และไม่มีทางแก้ไข จึงปล่อยไป...ให้เลยตามเลย ต่างก็ไม่คิดที่จะแก้ไข เพราะหมดปัญญา หมดศรัทธา ต่อการกระทำของท้าวทศราช และ พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ที่มีใจฮึกเหิมเหี้ยมเกรียม กระทำย่ำยีจิตใจมนุษย์ทั้งหลาย ให้ตกอยู่บนกองทุกข์ ไม่เป็นอันที่จะทำมาหากิน เพราะหมดกำลังใจ ก่อนที่บ้านเมืองจะถึงกับความวิบัติล่มจมลงไป เรื่องที่...เจ้ากรุงพาลีกลั่นแกล้งประชาชน จึงร้อนไปถึงพระนารายณ์ เห็นท่าว่า...ขืนปล่อยเอาไว้ บ้านเมืองก็จะพินาศล่มจม ด้วยความที่ใจสงสารประชาชน พระนารายณ์จึงต้องหาทางแก้ไขเป็นการด่วน คิดที่จะลงโทษและดัดสันดานของเจ้ากรุงพาลี พระนารายณ์จึงปลอมแปลงรูปกายเป็น "พราหมณ์ผู้มีศีล" เหาะตรงลงมายังกรุงพาลี แล้วจึงเข้าเฝ้า ท่านท้าวทศราช ตามเจตนาที่คิดเอาไว้
เจ้ากรุงพาลี ท้าวทศราช และพระนางสันทาทุก เมื่อเห็นพราหมณ์มาเข้าเฝ้าก็มีความยินดี โดยที่มิได้รู้กลลวงของพระนารายณ์ จึงทักทายปราศรัยด้วยไมตรี ฝ่ายพราหมณ์ปลอมได้โอกาส จึงกราบทูลขอที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยบำเพ็ญตบะ จากท้าวทศราช 3 ก้าว เจ้ากรุงพาลีมิได้ระแวงอะไร เมื่อได้โอกาส...จึงตอบตกลงอนุญาตให้กับพราหมณ์นั้น
การตั้งศาลในที่นี้ หมายถึง การตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ก่อนการตั้งศาลนั้นจะต้องเชิญผู้ที่ทำหน้าที่ตั้งศาล คือ "หมอตั้งศาล" ให้ไปดูสถานที่ก่อน ถึงทำเลที่เหมาะสม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เห็นสมควรในการตั้งศาล อาทิ การตั้งศาลจะต้องอยู่ในสถานที่ๆ สะอาด, สิ่งกีดขวางต่างๆ, ใกล้กับสิ่งอัปมงคลอื่นๆ หรือไม่ เช่น ใกล้สิ่งเน่าเหม็น สุขา ห้องน้ำ
การตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ ต้องตั้งในพื้นดิน ห้ามตั้งบนบ้าน หรือบนตึกเป็นอันขาด ศาลพระภูมิจะมีเสาต้นเดียว และศาลเจ้าที่มีเสา 4 ต้น
การหันหน้าศาลพระภูมิ
การหันหน้าศาล จะหันได้เพียง 3 ทิศ ได้แก่
- ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
- ทิศอุดร (ทิศเหนือ)
- ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันกับเดือนที่ห้ามตั้งศาล
- เดือน 1 (เดือนอ้าย - ธันวาคม) ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน 2 (เดือนยี่ - มกราคม) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน 3 (กุมภาพันธ์) ห้ามตั้งศาล วันอังคาร
- เดือน 4 (มีนาคม) ห้ามตั้งศาล วันจันทร์
- เดือน 5 (เมษายน) ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน 6 (พฤษภาคม) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน 7 (มิถุนายน) ห้ามตั้งศาล วันอังคาร
- เดือน 8 (กรกฎาคม) ห้ามตั้งศาล วันจันทร์
- เดือน 9 (สิงหาคม) ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน 10 (กันยายน) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน 11 (ตุลาคม) ห้ามตั้งศาล วันอังคาร
- เดือน 12 (พฤศจิกายน) ห้ามตั้งศาล วันจันทร์
ชื่อพี่เลี้ยง หรือคนรับใช้พระภูมิ
พระภูมิ ท่านมีคนรับใช้ หรือพี่เลี้ยง 3 คน การถวายเครื่องสังเวย ก็จะต้องออกชื่อพี่เลี้ยงทั้ง 3 นี้ด้วย ให้จัดการนำถวายข้าวของ ถวายพระภูมิเป็นการส่วนตัว เช่นเดียวกับการที่เด็กวัดจัดอาหารเข้าไปประเคนพระฉันใดก็ฉันนั้น
ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 1 คือ นายจันทร์ หรือนายหลวง
ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 2 คือ นายทิศ หรือนายขุน
ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 3 คือ นายอาจเสน หรือนายหมื่น
ทิศทางของพระภูมิ
สิ่งของที่จะนำไปถวายพระภูมิ ได้แก่ ดอกไม้ พวงมาลัย อาหาร และน้ำ รวมทั้งการจุดธูปเทียนบูชา การทำความสะอาดศาล จะต้องเข้าทางทิศที่เป็นเท้า อย่าเข้าทางด้านหัวเป็นอันขาด แล้วเรียกออกชื่อให้นายทั้ง 3 ผู้เป็นพี่เลี้ยง หรือคนรับใช้ ให้นำสิ่งของเหล่านี้ เข้าไปถวายพระภูมิอีกต่อหนึ่ง และเชื่อว่าพระภูมิ...ท่านจะอวยพรให้มีความสมบูรณ์พูลผล ค้าขายกำไรงาม
วันอาทิตย์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศบูรพา (ตะวันออก) เอาเท้าไปทางด้านทิศประจิม (ทิศตะวันตก)
วันจันทร์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) เอาเท้าไปทางด้านทิศพายัพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันอังคาร - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศทักษิณ (ใต้) เอาเท้าไปทางด้านทิศอุดร (เหนือ)
วันพุธ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) เอาเท้าไปทางด้านทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันพฤหัสบดี - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศประจิม (ตะวันตก) เอาเท้าไปทางด้านทิศบูรพา (ตะวันออก)
วันศุกร์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) เอาเท้าไปทางด้านทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
วันเสาร์ - พระภูมินอนเอาศรีษะไปทางด้านทิศอุดร (เหนือ) เอาเท้าไปทางทิศทักษิณ (ใต้)
คาถาขอขมาพระภูมิ
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง
ที่มาพระคาถา : หลวงพ่อโอภาสี แห่งวัดกลางสวน บางมด ฝั่งธนบุรี รวมกับการขอขมาพระภูมิแล้ว เป็นการเพิ่มพลังจิต และพลังศรัทธา ทำให้องค์พระภูมิท่านใจอ่อน เกิดมีใจเมตตา อภัยในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราได้ก้าวก่าย หรือพลาดพลั้งกระทำในสิ่งที่ผิดลงไป...ทั้งรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม
เครื่องสักการะบูชาพระภูมิ
การสักการะบูชาพระภูมินั้น มิได้เหมือนกันตลอดไป ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามเดือนที่กำหนด การบูชา การจัดเครื่องสังเวย และสิ่งของที่จะต้องใช้ ให้ถูกต้องตามเจตนา จะเสริมสร้างสิริมงคลให้กับตนเอง และครอบครัวยิ่งๆ ขึ้นไป ตามเดือนที่หมุนเวียน ดังต่อไปนี้
เดือน 5 และเดือน 6 - เจ้ากรุงพาลี ราชบิดาขององค์พระภูมิ ท่านแปลงเพศเป็นยักษ์ มีความดุร้ายเป็นที่สุด การจัดเครื่องสักการะในเดือนนี้ ต้องมี กุ้งพล่า ปลายำ เนื้อย่าง (เนื้อหมู, เป็ด, ไก่, วัว และอื่นๆ ตามสมควร) แต่ให้เป็นของสด ของคาว ก็จะเป็นที่พอใจของท่าน หากตั้งศาลในเดือนดังกล่าวนี้ ก็ให้สูงเท่าปาก ใช้ผ้าแดงปูรองเครื่องสังเวย มีเหล้ายาสารพัด เทียนขาว 9 เล่ม และเครื่องสังเวยอื่นๆ
เดือน 7 และเดือน 8 - เจ้ากรุงพาลี หลายเพศเป็นพราหมณ์สวยสดงดงาม งดเนื้อสัตว์ และของคาวสารพัด ใช้ผ้าขาวปูรองเครื่องสังเวยมังสวิรัติ
เดือน 9 และเดือน 10 - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นราชสีห์ ชอบของสด ของคาว ใช้ผ้าเหลืองปูรองเครื่องสังเวย จะเกิดลาภผลเหลือประมาณตามความต้องการทุกอย่าง
เดือน 11 และเดือน 12 - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นช้าง ต้องมีหญ้าแพรก หญ้าปล้อง อย่างละ 7 ใช้ผ้าดำปูรองเครื่องสังเวย จะเกิดลาภผลสวัสดี ห้ามใช้ของคาว
เดือน 1 (เดือนอ้าย) และเดือน 2 (เดือนยี่) - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นนาคราช ให้ตั้งศาลสูงแค่สะดือ จะมีเกียรติยศ และชื่อเสียงเลื่องลือไกล ของคาวทั้งหลายให้นำมาสักการะ
เดือน 3 และเดือน 4 - เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นครุฑ สักการะบูชาด้วยของสด ของคาว กุ้งพล่า ปลายำ เป็นสิ่งบันดาลโชคลาภ โทษภัยจะหนีห่าง มีแต่ความสุขสำราญ
ในการจัดเครื่องสักการะนี้ จะต้องทำให้ถูกต้องตามประสงค์ จึงจะเกิดลาภผลดลช่วยให้พ้นภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง มีแต่โชคลาภนานาประการ
หมายเหตุ : เกี่ยวกับเครื่องสักการะบูชาของเดือนใดมิได้กำหนดแจ้งผ้าปูรองเครื่องสักการะบูชาไว้ ให้ใช้ผ้าขาวเพื่อปูรองเครื่องสักการะประการฉะนี้แล....
คาถาบูชาพระภูมิทุกวัน
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญ ชันโต รัตตินเทวะ มะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโตจะ ปาปังกิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิ คุณูปเปตัง ปะริตตันตัม ภะณามะเห
หากตั้งศาลพระภูมิไว้ในเขตบริเวณบ้าน จงใช้คาถานี้ บูชาทุกวัน จะเกิดสิริมงคล และบันดาลโชคลาภ ลาภผลนานานัปการ ถ้าหากสวดให้ครบตามกำลังวัน ก็จะดียิ่งๆ ขึ้นไป คือ
วันอาทิตย์ - สวด 6 จบ
วันจันทร์ - สวด 15 จบ
วันอังคาร - สวด 8 จบ
วันพุธ - สวด 17 จบ
วันพฤหัสบดี - สวด 19 จบ
วันศุกร์ - สวด 21 จบ
วันเสาร์ - สวด 10 จบ
หากมีเวลาน้อย ก็สวดวันละ 1 จบ หรือครั้งละ 1 จบก็ได้ โดยสวดสม่ำเสมอทุกวัน อย่าให้ขาด พร้อมทั้งดอกไม้ หรือพวงมาลัยสด ธูปเทียน จุดบูชาเป็นประจำ ก็จะบังเกิดผลดีัตลอดไป...
หมายเหตุ : ตัวอย่างการตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ ที่ได้นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการตั้งศาลในบ้านของ "นายจ่อย และนางไม" ตรงกับเดือนสิบนั้น พบจุดสังเกต คือ เป็นการตั้งศาลที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลการตั้งศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ตามหลักโหราศาสตร์ตามที่ได้เสนอไปแล้วนั้น การตั้งศาลเดือน10 (กันยายน) ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์ แต่ตัวอย่างการตั้งศาลที่นำเสนอนี้ คือ เดือน 10 และตรงกับวันศุกร์ต้องห้าม สอบถามได้ความว่า...บ้านสนม มีความเชื่อว่า...หากจะทำการ หรืองานมงคลใดๆ ก็ตาม ให้จักทำในวันศุกร์เข้าไว้ เชื่อ...เมื่อทำวันศุกร์แล้ว จะทำให้ชีวิตเป็นสุข อยู่อย่างสุขสบาย โดยเชื่อตามคำพ้องเสียง คือ "ศุกร์" ให้ความหมาย คือ "สุข" นั่นเอง...
ประวัติของพระภูมิ
กาลครั้งหนึ่ง มีกษัตริย์ผู้ครองกรุงพาลี ทรงพระนามว่า..ท้าวทศราช มีพระมเหสีทรงพระนามว่า...พระนางสันทาทุก มีพระราชโอรส 9 พระองค์ มีปัญญาเฉลียวฉลาด รอบรู้ในสิ่งต่างๆ ยิ่งกว่าบุคคลทั้งหลาย
พระองค์ที่ 1 : พระชัยมงคล
พระองค์ที่ 2 : พระนครราช
พระองค์ที่ 3 : พระเทเพล
พระองค์ที่ 4 : พระชัยสพ
พระองค์ที่ 5 : พระคนธรรพ์
พระองค์ที่ 6 : พระธรรมโหรา
พระองค์ที่ 7 : พระเทวเถรวัยทัต
พระองค์ที่ 8 : พระธรรมมิกราช
พระองค์ที่ 9 : พระทาษธารา
แต่ละพระองค์มีอิทธิฤทธิ์มาก ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นอย่างดี ถ้าหากคิดว่าจะทำอะไร ก็ต้องทำได้ทุกอย่าง จะเป็นในทางสุจริต หรือทุจริตก็ทำได้ทั้งนั้น ทรงมีปัญญาแก้ไขในเหตุการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ครบทั้ง 9 พระองค์ โดยไม่มีใครเหลื่อมล้ำต่ำสูงกว่ากันเท่าใดนัก การเป็นอยู่พอๆ กันทั้งหมด
ครั้นต่อมา...พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ทรงเจริญพระชันษา พระราชาทศราชกับพระนางสันทาทุก ปรึกษาหารือกัน จนเป็นที่ตกลงกันว่า จะต้องมอบให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ไปปกครองเขตนิเวศสถานต่างๆ จึงมอบให้
พระโอรสองค์ที่ 1 พระชัยมงคล ไปครอบครองดูแลสถานบ้านเรือน และโรงร้าน
พระโอรสองค์ที่ 2 พระนครราช ไปครอบครองดูแลประตู ป้อม ค่าย บันได หอรบ
พระโอรสองค์ที่ 3 พระเทเพล ไปครอบครองดูแลคอกสัตว์ต่าง ๆ ที่มี
พระโอรสองค์ที่ 4 พระชัยสพ ไปครอบครองดูแลยุ้งฉาง และ เสบียงคลัง
พระโอรสองค์ที่ 5 พระคนธรรพ์ ไปครอบครองดูแลเรือนหอ และ โรงพิธีแต่งงาน
พระโอรสองค์ที่ 6 พระธรรมโหรา ไปครอบครองดูแลเรือกสวน ไร่นา และ โรงนา
พระโอรสองค์ที่ 7 พระวัยทัต ไปครอบครองดูแลวัดวาอาราม และ ปูชนียสถาน
พระโอรสองค์ที่ 8 พระธรรมมิกราช ไปครอบครองดูแลพืชพันธ์ธัญญาหารต่างๆ
พระโอรสองค์ที่ 9 พระทาษธารา ไปครอบครองดุแลห้วยหนอง คลอง บึง บ่อ และ ลำธาร
เมื่อมอบหมายหน้าที่ ให้ครบทั้ง 9 พระองค์แล้ว ท้าวทศราช ผู้ซึ่งมีจิตใจที่ผิดมนุษย์ธรรม สันดานโกง หยาบช้าลามก เห็นแก่ได้ในสิ่งต่างๆ ด้วยความโลภไม่มีวันสิ้นสุด เที่ยวคดโกงรังแกชาวประชา ต่างได้รับความเดือดร้อนกันไปทั่วทุกมุมเมือง ยังใช้ให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ กระทำการหยาบช้า โดยการเข้าไปสิงสู่ในผู้คน แล้วก็เรียกร้องเครื่องสังเวย และสินบน คนละจำนวนมากๆ โดยที่ไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรม จนชาวประชาเดือดร้อนเป็นอย่างหนัก แต่ก็พูดอะไรไม่ออก และไม่มีทางแก้ไข จึงปล่อยไป...ให้เลยตามเลย ต่างก็ไม่คิดที่จะแก้ไข เพราะหมดปัญญา หมดศรัทธา ต่อการกระทำของท้าวทศราช และ พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ที่มีใจฮึกเหิมเหี้ยมเกรียม กระทำย่ำยีจิตใจมนุษย์ทั้งหลาย ให้ตกอยู่บนกองทุกข์ ไม่เป็นอันที่จะทำมาหากิน เพราะหมดกำลังใจ ก่อนที่บ้านเมืองจะถึงกับความวิบัติล่มจมลงไป เรื่องที่...เจ้ากรุงพาลีกลั่นแกล้งประชาชน จึงร้อนไปถึงพระนารายณ์ เห็นท่าว่า...ขืนปล่อยเอาไว้ บ้านเมืองก็จะพินาศล่มจม ด้วยความที่ใจสงสารประชาชน พระนารายณ์จึงต้องหาทางแก้ไขเป็นการด่วน คิดที่จะลงโทษและดัดสันดานของเจ้ากรุงพาลี พระนารายณ์จึงปลอมแปลงรูปกายเป็น "พราหมณ์ผู้มีศีล" เหาะตรงลงมายังกรุงพาลี แล้วจึงเข้าเฝ้า ท่านท้าวทศราช ตามเจตนาที่คิดเอาไว้
เจ้ากรุงพาลี ท้าวทศราช และพระนางสันทาทุก เมื่อเห็นพราหมณ์มาเข้าเฝ้าก็มีความยินดี โดยที่มิได้รู้กลลวงของพระนารายณ์ จึงทักทายปราศรัยด้วยไมตรี ฝ่ายพราหมณ์ปลอมได้โอกาส จึงกราบทูลขอที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยบำเพ็ญตบะ จากท้าวทศราช 3 ก้าว เจ้ากรุงพาลีมิได้ระแวงอะไร เมื่อได้โอกาส...จึงตอบตกลงอนุญาตให้กับพราหมณ์นั้น
ดู ศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น